การพัฒนากระบวนการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การพัฒนาระบบบริหารของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการในระบบบริการปฐมภูมิให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โดยทำการศึกษาที่ รพ.สต. ตูม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เลือกกลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของการบริหารจัดการ รพ.สต. เลือกโดยวิธีเจาะจง จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และวิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แต่งตั้งคณะทำงาน 2) เก็บรวบรวมข้อมูล 3) วิเคราะห์ข้อมูล 4) วางแผนดำเนินการ 5) ดำเนินการตามแผน 6) การติดตามผลโดยการสังเกต ติดตามและสัมภาษณ์ 7) สังเคราะห์ข้อมูล และ 8) ประเมินผลถอดบทเรียน ผลการดำเนินงานตามรูปแบบดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย มีการเปลี่ยนแปลง ความรู้ในเรื่องเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอยู่ในระดับสูง การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอยู่ในระดับมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) โดยรูปแบบการพัฒนาครั้งนี้ สรุปได้คือ รูปแบบ “TOOMPCA” ซึ่งประกอบด้วย 1) Teamwork- การทำงานเป็นทีม 2) Organizing- การจัดองค์กร 3) Operational- การปฏิบัติการ 4) Management- การจัดการ 5) Planning- การวางแผน 6) Coordinating- การประสานงาน 7) Approach- การประยุกต์อย่างเหมาะสม
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้เกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง 2) การมีแนวทางการพัฒนาที่เป็นระบบชัดเจน 3) การทำงานเป็นทีมที่ดีและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในที่สุด
References
จรัญ แตงเล็ก. (2542).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าสถานีอนามัยในงานสาธารณสุขมูลฐานจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฉวีวรรณ ธรรมชาติ (2547) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัด นครพนมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และสุขอนามัยเจริญพันธ์ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอธาตุพนม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.
ชูชัช แก้วมณีชัย. (2552). การจัดกิจกรรมอบรมแบบมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต (2553) หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6 มหาสารคาม สารคามการพิมพ์ - สารคามเปเปอร์.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี (2554) สรุปผลงานประจำปี 2554. อุบลราชธานี:
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม