การพัฒนาแบบประเมินทักษะปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา กิตติวงศ์วิสุทธิ์
  • อุ่นใจ เครือสถิตย์
  • เตือนใจ ภูสระแก้ว

คำสำคัญ:

แบบประเมินทักษะ, ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแบบประเมินทักษะปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ เก็บข้อมูลจากอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยงที่เป็นแหล่งฝึกภาคสนาม รวมจำนวน 40 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 35 คน ดำเนินการโดย วงรอบที่ 1 ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง สร้างเครื่องมือสำรวจความเหมาะสม และความต้องการพัฒนาแบบประเมิน และวงรอบที่ 2 วางแผนการดำเนินการเพิ่มเติมกับ สร้างแบบประเมินตามผลการประเมิน และการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (RAI) และสรุปผลการศึกษา

ผลการศึกษา : ก่อนการพัฒนาแบบประเมินทักษะ ทุกข้อและในภาพรวม มีความเหมาะสม ในระดับมาก = 3.94 (SD=0.22) มีความต้องการพัฒนา ทุกข้อและในภาพรวม ในระดับมากที่สุด = 4.53 (SD=0.71) และแบบประเมินทักษะการออกปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินที่สร้างขึ้นใหม่ มีค่า RAI = 0.86 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติการ 2) การประเมินและการควบคุมสถานการณ์ 3) การประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น 4) การยกเคลื่อนย้ายและยึดตรึง และ 5) การดูแลระหว่างนำส่งสถานพยาบาล รวม 28 ข้อ เกณฑ์ประเมินแต่ละข้อเป็น 5 ระดับ และหลังการพัฒนาแบบประเมิน ทุกข้อและในภาพรวม มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.53 (SD=0.22) และข้อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะและการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด = 4.64 (SD=0.55)

สรุปผลการศึกษา : แบบประเมินทักษะการออกปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน
ที่สร้างขึ้นใหม่ทั้ง 5 ด้าน โดยทุกข้อและในภาพรวม มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 (ปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: อัลติเมท พรินติ้ง จำกัด; 2562.

Emest, P.T. Constructivism: Theory, perspective and practice. New York: Teacher College Press; 1996.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิสมัย เสรีกิจขรกิจเจริญ. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร Research methods in public health : case studies on relationship among variables. ภาควิชาพื้นฐานการสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กรุงเทพ: จามจุรีโปรดักส์; 2560

Burry-Stock, Judith A. and Other. Rater Agreement Indexes for Performance Assessment. Education and psychological measurement 1996; 56(2): 251-162.

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planner 3rd ed . Victoria: Deakin University; 1988.

Wiggins, G. A. True Test: Toward More Authentic and Equitable Assessment, Phi Delta Kappa International. [Internet]. 1989 [cited 18 7 2021]. Available from: https://grantwiggins.files.wordpress.com/2014/01/wiggins-atruetest-kappan89.pdf.

Paul R. W. and Elder L. Critical Thinking: Tools for Taking Charge of Your Professional and Personal Life. Financial Time Prentice Hall; 2002

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28