การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • รัตชพร กาละปัตย์
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต
  • กฤษณา วุฒิสินธ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์, กองทุนหลักประกันสุขภาพ, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

                   กองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น มุ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองผือ มีการดำเนินงานตามรูปแบบ 3 ก. คือ กรรมการ การบริหารจัดการ และ กองทุน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ A ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ A+ มีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ บุคลากรและการบริหารจัดการ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้ร่วมกระบวนการวิจัยประกอบด้วยคณะกรรมการ บริหารกองทุน คณะอนุกรรมการกองทุน และแกนนำสุขภาพ จำนวน 47 คน ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน จำนวน 229 คน ทำการคัดเลือกแบบสะดวก ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นใช้การถอดบทเรียนและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                  ผลการวิจัย พบว่า เกิดรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนที่เรียกว่า NONGPHUE โมเดล โดยมีกระบวนการ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ สรุปเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมคณะทำงานวิจัย 2) การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 4) การประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ 5) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 6) การติดตามตรวจสอบประเมินการดำเนินงาน 7) การสรุปผลการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองผือ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์ A+ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย องค์กรในชุมชนและชุมชน ผู้นำมีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาเป็นขั้นตอนทั้งระบบ โดยเน้นหลักการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมตรวจสอบประเมินผล โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จ   คือ ความสามารถของผู้นำที่มีความเข้าใจสภาพ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรในชุมชนและชุมชนในทุกขั้นตอน รวมทั้งมีการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกัน

References

ฝ่ายยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ .สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขผสมผสานรอบที่ 1/2555. พิมพ์ครั้งที่ 1.อุบลราชธานี, ออร์เซนเตอร์การพิมพ์;2555.

สุมัทนา กลางคาร และ วรพจน์ พรหมสัตยพรต .หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม : สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์;2553.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ.รายงานการวิจัย: การประเมินกองทุนสุขภาพท้องถิ่น. กรุงเทพฯ ,ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2552.

ภัทระ แสนไชยสุริยา และคณะ .ผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน กรณีศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นและ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. งานวิจัยเสนอสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)ว2554.

ไพโรจน์ อุทรส และคณะ . การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

สงครามชัย ลีทองดี และคณะ . ผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน “กรณีศึกษา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์”. งานวิจัยเสนอสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.); 2554.

มุกดา สำนวนกลาง . ผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน “กรณีศึกษา อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์เสนอสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ; 2554.

ชูเพ็ญ วิบูลสันติ และคณะ . ทัศนคติและความพึงพอใจต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของบคุลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:2553.

วรพจน์ พรหมสัตยพรต . หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม : สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์; 2554.

ลดาวัลย์ จ้อยประดิษฐ์ . กระบวนการจัดการและผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในจังหวัดราชบุรี .ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-20