การยอมรับตำรับอาหารจากไข่ขาวในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลอุดรธานี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการยอมรับอาหารจากไข่ขาวที่จัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Descriptive Research)
โดยดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยรายเก่าที่นอนพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาลอุดรธานีที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์ เดือนมกราคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.3 ด้านภาวะโรคมะเร็งพบว่าผู้ป่วยได้รับจากวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งมาแล้ว 1-2 ปี ร้อยละ 92.5 โดยร้อยละ 95.0 เป็นมะเร็งระยะที่ 1 และได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งร้อยละ 71.3 โดยได้รับจาก แพทย์/พยาบาล/เจ้าหน้าที่โภชนาการ ร้อยละ 78.9 บริโภคเมนูอาหารจากไข่ขาวทุกวันร้อยละ 38.7 ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 55.0 น้ำหนักเกินร้อยละ 21.3 อ้วนร้อยละ 15.0 และน้ำหนักต่ำกว่าปกติร้อยละ 8.7 ผู้ป่วยพึงพอใจในด้านความสะอาดของภาชนะมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8±0.4 เมื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง และอาหารโรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยส่วนมากมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 90.0 ด้านทัศนคติอาหารผู้ป่วยโรคมะเร็งและอาหารจากไข่ขาว พบว่าผู้ป่วยมีทัศนคติอยู่ในระดับที่ดี (ผู้ป่วยส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งมากกว่าร้อยละ 80) และผู้ป่วยมีทัศนคติที่ไม่ดีในประเด็นเรื่อง เช่น เนื้อสีแดงไม่เป็นอาหารแสลงสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ดังนั้นควรมีการจัดบริการตำรับเมนูอาหารจากไข่ขาวให้หลากหลายพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการให้โภชนศึกษาในเรื่องอาหารของผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยต่อไป
References
งานเวชระเบียนและสถิติ, โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้ป่วยมะเร็ง. โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ; 2556.
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง. โภชนบําบัดมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : ฮั่งยี่ ;2552.
นิธิยา รัตนาปนนท์. เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2549.
นุชศรา ประจันตะเสนและภัทระ แสนไชยสุริยา.การตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ของผูู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารศูนย์ อนามัยที่ 6 ขอนแก่น กระทรวง
สาธารณสุข, 4(1);2554. 54-62.
บุษกร อุตรภิชาติ.จุลชีววิทยาทางอาหาร.พิมพครั้งที่ 4. สงขลา: นําศิลป์โฆษณา. ; 2552.
เบญจา มุกตพันธุ์,สุวลี โล่วิรกรณ์, พิษณุ อุตตมะเวทิน และรพีพร ภาโนภัย. ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภ อาหารของบุคคลวัยแรงงานในชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษา
บ้านโป่งแห้ง ตําบลวังหินลาด อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น : ภาควิชาโภชนวิทยา คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ; 2554.
ประภาพร สุนธงศิริ. ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบําบั ศูนย์ มะเร็งอุดรธานี วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขา โภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2538.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น;2552.
พิษณุ อุตตมะเวทิน. โภชนศาสตร์ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น : ภาควิชา โภชนวิทยาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2547.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. ความรูู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัด.ค้นเมือ 18 พฤษภาคม 2556,จาก http://www.chulacancer.net./
patient-list-page.php?id=323
วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชีย. การพยาบาล ที่เป็นเลิศในการดูแลผู้ป้วยมะเร็ง. สงขลา : ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์;2554.
วีระศักดิ์ อุดมดี. พฤติกรรมการบริโภคอาหารก่อโรคมะเร็งท่อนํ้าดี ของ ประชาชน ในหมู่บ้านที่พบอุบัติการณ์ โรคมะเร็งท่อนํ้าดี อําเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัด
อุบลราชธานี ; 2552.ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557, จาก ftp://hrm.moph.go.th/virtual_users/.../ work_00330_
031111_203245.doc.
หอผู้ป่วยเคมีบําบัด 5 จ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ; 2550 การลดคลื่นไส้อาเจียนผู้ป่วยที่ใช้ ยาเคมีบำบัด. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธุ 2557, จาก http://www.gotoknow.org/
posts/89594
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์ ;2552.
T.Khuhaprema, P.Attasara, H.Sriplung, S.Wiangnon, Y.Sumitsawan, S.Sangrairang. (2012). Udon Thani Cancer Registry. Cancer in Thailand,2(4), 121-127. Retrieved May 15
2013,from http://www.nci.go.th /th/File_download/Nci%20Cancer% 20Registry/Cancer0in%20thailand.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม