การพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลลาดพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วัฒนา สว่างศรี
  • อดิศักดิ์ โทแก้ว

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพบริการ, เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 32คน เลือกผู้เข้าร่วมกระบวนการโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling Method)วิจัยระหว่าง ตุลาคม  2556 – พฤษภาคม 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้ แบบสอบถาม การบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

                  ผลการวิจัยพบว่า  ค้นพบองค์ประกอบที่สำคัญจากการดำเนินโครงการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  6 โครงการ  ได้แก่  การคิดเชิงบวก การเรียนรู้ การแบ่งภาระงาน กำหนดวันคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล การเสริมพลังอำนาจชุมชน การรู้คุณค่าชุมเชย  ซึ่งเรียกโดยรวมว่า “LAD-PCA  Model”ประกอบไปด้วย  L : Learningการเรียนรู้  A : Assignment การกำหนดบทบาทหน้าที่ D : D Day (Quality Day) วันรวมพลังคุณภาพ  P : Positive thinking การคิดเชิงบวก C : Community empowerment เสริมพลังอำนาจชุมชนA : Appreciate การรู้คุณค่า ชมเชย ภายหลังการพัฒนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนด้านความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) 

                สรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาครั้งนี้คือคือPCA ประกอบด้วย P-Process คือ การมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ทั้ง 13 ขั้นตอน , C – Co-ordinationคือ การประสานงานที่มีความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีม และ A –Actor คือ การมีผู้นำและผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญในการพัฒนา

 

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ . เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ นนทบุรี, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2552.

วัฒนา สว่างศรี . การพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อุทัยทิศ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2556.

พิชญาภา ฮงทอง . ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสมรรถนะการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ: PCA ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษาอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2554.

วิศรุดา ตีเมืองซ้าย . การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-21