การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุขภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2559) ที่เน้นการพัฒนาทั้งตัวบุคคลและองค์กรไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ภาพลักษณ์การบริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ดีขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนครอบคลุมทุกระดับของบุคลากรและทุกพื้นที่ ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาคือชมรมจริยธรรมที่อยู่ในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 234 ชมรม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าไคสแควร์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านชีวสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข ปัจจัยนำ ได้แก่การรับรู้เกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 2 ปัจจัยเอื้อได้แก่ การกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน และ ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนจากส่วนกลางมีความสัมพันธ์กับการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายชมรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข ในการนำไปสร้างความเข้มแข็งส่งผลให้เครือข่ายชมรมจริยธรรม และวางแผนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ฉบับต่อไปให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นสู่การพัฒนา
References
คณะกรรมการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนายุทธศาสตร์คุณธรรม จริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555 – 2559.นนทบุรี ;2554.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ:บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด; 2556.
Cohen, J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University; 1981.
บัญญัติ เลิศอาวาส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีอนามัยในการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาบริการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.
สรณี กัณฑ์นิล. กลยุทธ์การส่งเสริมจริยธรรมของบุคลากรสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร;2555.
สมควร หาญพัฒนชัยกูร มกราพันธุ์ จูฑะรสก ลิลลี่ ศิริพร และคณะ . การพัฒนาชุมชนสุขภาวะโดยใช้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน (หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งชุมชน). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ;2557.Vol. 24. No.1.
ทีปพิพัฒน์ สัตะวัน. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง.วิทยนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร;2551.
ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล, มกราพันธุ์ จูฑะรสก และคณะ. การพัฒนารูปแบบเครือข่ายจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี : สถาบันพระบรมราชชนก.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข;2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม