ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์, หญิงวัยรุ่น, คลินิกฝากครรภ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น ที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์
โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
วิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุระหว่าง 11-19 ปี จำนวน 100 คน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ 95 % เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น .70 เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการดูแลตนเอง หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีการดูแลตนเอง ในระดับปานกลาง มีค่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 ด้านการดูแลของครอบครัว หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีการดูแลของครอบครัว ในระดับน้อย มีค่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93 และ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในระดับน้อย มีค่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62 เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน พบว่า กลุ่มอายุต่างๆมีการดูแลตนเองในการตั้งครรภ์ ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองหลัก พบว่า กลุ่มที่มีการศึกษาแตกต่างกัน มีการดูแลตนเองและด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในการตั้งครรภ์ ไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่มีการศึกษาแตกต่างกัน มีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์ แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 2 คู่ คือ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์มากกว่าระดับประถมศึกษา และระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์มากกว่าระดับอนุปริญญา จำแนกตามอาชีพของผู้ปกครองหลัก พบว่า กลุ่มที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการดูแลตนเองและด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในการตั้งครรภ์ ไม่แตกต่างกัน มีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์ แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 คู่ คือ อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจมีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์มากกว่าอาชีพค้าขาย จำแนกตามรายได้ต่อเดือนของครอบครัว พบว่า กลุ่มที่มีรายได้แตกต่างกัน มีการดูแลตนเองและด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในการตั้งครรภ์ ไม่แตกต่างกัน มีการดูแลของครอบครัวในการตั้งครรภ์ แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 คู่ คือ รายได้ 30,001 –40,000 บาท มีการดูแลการตั้งครรภ์มากกว่า รายได้10,001 -20,000 บาท ครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย มีการดูแลการตั้งครรภ์ ไม่แตกต่างกัน และ มีปัญหาที่สำคัญและต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ เกิดความวิตกกังวลกับการตั้งครรภ์ ความเครียดในการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รู้สึกเศร้าและหดหู่กับความผิดพลาดของตัวเอง
References
นิธิรัตน์ บุญตานนท์และภัสสรา นรารักษ์. เพื่อนสุขภาพ, ศูนย์อนามัยที่ 5. เอกสารเผยแพร่ ความรู้. 6(2) : 1 ; มิถุนายน-สิงหาคม; 2555.
เบญจพร ปัญญายง. การทบทวนองค์ความรู้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ(สสส); 2553.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และการติดตาม ประเมินผล. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.
โรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานผลการประเมินโรงพยาบาลตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ประจำปี 2557. มปท.; 2557.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น; 2545.
สุวชัย อินทรประเสริฐและสุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ. โฮลิสติก พัชลิชชิ่ง; 2539.
ปราณีต รามสูตร. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ ; เจริญกิจ; 2528.
ทวีรัสมิ์ ธนาคม. พัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ : วิบูลย์กิจการพิมพ์; 2524.
กมลพรรณ ชีวพันธุศรี. “ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีหญิงที่ฝาก ครรภ์ในศูนย์บริการสารณสุข 34 โพธิ์ศรี สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร”. วชิรเวชสาร. 57(1) : มกราคม-เมษายน 2556 : 37.
Jahan, N. “Teenage Marriage and Educational Continuation in Thailand”. Journal of Population and social Studies 17 : 135-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม