ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะทารกหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราวของทารกเแรกเกิดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • ทิพวัลย์ ลิ่มลิขิต

คำสำคัญ:

ภาวะทารกหายใจเร็วผิดปกติ, ทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

  วัตถุประสงค์       : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะทารกหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราวของเด็กแรกเกิด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

รูปแบบการวิจัย    : เป็นการวิจัยแบบ Case-Control study

 สถานที่ศึกษา      : โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

 วิธีการศึกษา       : ทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนเด็กแรกเกิด ที่มารดามาคลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมตั้งแต่วันที่1 มกราคม-31 ธันวาคม 2556 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยแบ่งทารกแรกเกิดออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีภาวะหายใจเร็วผิดปกติ  (Cases) และกลุ่มควบคุม (Controls) จำนวนกลุ่มละ 87ราย รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึกการรักษา ข้อมูลพื้นฐานได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ วิเคราะห์ไคท์สแควร์ 95%CI และ Odds ratio

ผลการศึกษา  พบว่าทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วผิดปกติ ส่วนใหญ่มารดามีอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 56.32) อายุครรภ์อยู่ในช่วง 37-42 สัปดาห์ (ร้อยละ 81.61) ลำดับครรภ์ที่ 1 (ร้อยละ 41.38) และลำดับครรภ์ที่ 2 (ร้อยละ 36.78)  มารดาไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 85.6) และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ (ร้อยละ 93.10) ทารกเป็นเพศชาย ร้อยละ55.17 เพศหญิง ร้อยละ 44.83 น้ำหนักแรกเกิด 2,500-4,000 กรัม (ร้อยละ 78.16) การผ่าตัดคลอด ร้อยละ 58.62 คลอดธรรมชาติ ร้อยละ 37.93 ระยะนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3 วัน การผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กันกับภาวะอุบัติการณ์ทารกหายใจเร็วผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05  ซึ่งทำให้ทารกแรกเกิดมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราวหลังการคลอดเป็น 2.00 เท่า(OR=2.00: 95%CI=1.09-3.67)

สรุป จะเห็นได้ว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้ทารกหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราวหลังการคลอด คือ วิธีการผ่าตัดคลอดซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์มากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับทารกปกติ

References

Avery ME, Gatewood OB, Brumley G. Transient tachypnea of newborn. Possible delayed resorption of fluid at birth. Am J Dis Child 1966; 111:380.

Kuma A , Bhat BV.Epidermology of respiratory of newborn.Indain J Pediatr.1896;63:93-8.

Morrison JJ, Rennie JM, Milton PJ. Neonatal respiratory morbidity and mode of delivery at term: influence of timing of elective caesarean section. Br J Obstet Gynaecol 1995; 102:101.

Tutdibi E, Gries K, Bücheler M, et al. Impact of labor on outcomes in transient tachypnea of the of the newborn: population-based study. Pediatrics 2010; 125:e577.

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.ความรู้เรื่องการผ่าท้องทำคลอด(Cesarean section) 2554.

Levine EM,Ghai V,Barton JJ,Strom CM.Mode of delivery and risk factor in newborn.Obstet Gynecol 2001;97:439

Weintraub AS, Cadet CT, Perez R, DeLorenzo E, Holzman IR, Stroustrup A. Antibiotic use in newborns with transient tachypnea of the newborn. Neonatology. 2013;103(3):235-40.

Salama H, Abughalwa M, Taha S, Sharaf N, Mansour A. Transient tachypnea of the newborn: Is empiric antimicrobial therapy needed?. J Neonatal Perinatal Med. 2013;6(3):237-41.

Keszler M, Carbone MT, Cox C, Schumacher RE. Severe respiratory failure after elective repeat cesarean delivery: a potentially preventable condition leading to extracorporeal membrane oxygenation. Pediatrics. Apr 1992;89(4 Pt 1):670-2.

Liem JJ, Huq SI, Ekuma O, et al. Transient tachypnea of the newborn may be an early clinical manifestation of wheezing symptoms. J Pediatr 2007; 151:29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-24