โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ภานุวัฒน์ ขันธสะอาด

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เข้ารับรักษาด้วยการผ่าตัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม ในด้านระบาดวิทยา ลักษณะของโรค กระบวนการรักษา การติดตามหลังการรักษาและการพยากรณ์โรค

    วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงชนิด Adenocarcinoma รายใหม่ ที่เข้ารับการผ่าตัด และรักษาหลังการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 – 31 ธันวาคม 2557 

     ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 275 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.73 อายุเฉลี่ย 61.69 ปี ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 36.73) มาพบแพทย์ด้วยอาการลำไส้อุดตันมากที่สุด (ร้อยละ 32.73) ตำแหน่งของมะเร็งพบว่าเป็นที่ Middle rectum มากที่สุด (ร้อยละ 17.82) ส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ 3 (ร้อยละ 47.64) หัตถการผ่าตัดที่ได้ทำบ่อยที่สุดคือ Low anterior resection (ร้อยละ 23.27) การกลับเป็นซ้ำของโรคส่วนใหญ่เป็นในช่วงเวลา 12-24 เดือน ภายหลังการผ่าตัด ระยะเวลาเป็นซ้ำโดยเฉลี่ย 18.05 เดือน อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในปี 2553 ระยะที่ 1 ร้อยละ 100 ระยะที่ 2 ร้อยละ 40 ระยะที่ 3 ร้อยละ 37 และระยะที่ 4 ร้อยละเป็น 0 

    สรุป การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความก้าวหน้าของวิธีการผ่าตัด การให้รังสีรักษาและยาเคมีบำบัด กระบวนการรักษาจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพถ้ามีการวางแผนและจัดระบบที่ดี

References

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสุขภาพ.สถิติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย ใน http://www.hiso.or.th

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2555 ใน http://www.nci.go.th

Clinical practice guidelines in oncology (NCCN Guidelines).Colon cancer in http://www.nccn.org

Kelli M. Bullard Dunn, David A. Rothenberger. Colon, rectum and anus in : Schwartz’s principles of surgery.McGraw-Hill Education, 10th edition, 2015.

Robert D. Fry, Najjia N. Mahmoud, David J. Maron and Joshua I.S. Bleier. Colon and rectum in : Sabiston textbook of surgery.Saunders, 19th edition, 2012.

Sandra Van Schaeybroeck, Mark Lawler, Brian Johnston, Salto-Tellez Manuel, Jack Lee, Paula Loughlin, Richard Wilson, Patrick G. Johnston.Colorectal cancer in : Abeloff’s clinical oncology.Saunders, 5th edition, 2014.

ทนงค์ วัฒนประสาน.ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงรักษาที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2545 ก.ย.-ต.ค. ; 11 (5) : 668-80.

บันลือ เฉลยกิตติ และคณะ.มะเร็งลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พ.ศ.2542-2548 และอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี.เวชสารแพทย์ทหารบก.2549 ต.ค.-ธ.ค. ; 59 (4) : 189-98.

พงษ์สันต์ ทองเนียม.Colon Rectum and Anus ใน : MSD Surgical board review. 2558.

Clinical practice guidelines in oncology (NCCN Guidelines).Colon cancer in http://www.nccn.org

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2555 ใน http://www.nci.go.th

Kullavanijaya P, Rerknimitr R, Amormrattanakosol J.A retrospective study of colorectal cancer patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital.J Med Assoc Thai 2002;85 suppl 1 : S85-90.

Masvidal Calpe R, et al.Synchronous colonic and rectal carcinoma.Rev Esp Enferm Dig.1993 Oct ; 84(4) : 231-4

สมชัย อรุณรุวิวัฒน์.มะเร็งลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา.วารสารแพทย์เขต 6-7.2549 เม.ย.-มิ.ย. ; 25 (2) : 175-82.

Patankar SK, et al.Prospective comparison of laparoscopic VS open resections for colorectal adenocarcinoma over a ten-year period.Dis Colon Rectum.2003 May; 46(5) : 601-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25