ความสัมพันธ์ ปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำตนเอง และผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศรัณญา แก้วคำลา

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ปัจจัยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำตนเองและผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

         รูปแบบและวิธีวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีเป็นต้นไป จำนวน 60 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล  2) ภาวะผู้นำตนเอง  และ3) ผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาของ ส่วนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.75 และ 0.98 มีค่าความเที่ยงที่ 0.92 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

        ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของภาวะผู้นำตนเองผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ (r = .257) ระยะเวลาการปฏิบัติงาน (r = .350) และภาวะผู้นำตนเอง (r = .578)

        สรุปผล ปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำตนเองมีความสัมพันธ์ต่อผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเสลภูมิอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือระยะเวลาที่ปฎิบัติงานและอายุ ตามลำดับ

References

ประนมวัน เกษสัญชัย . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชนเขต 12 กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

สำนักการพยาบาล .มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล;2550.

บัวผัน เขต. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ . วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.

สุดฤทัย พสกภักดี .ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการพัฒนาตนเองของพยาบาล
วิชาชีพกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2554

กาญจนา อินนาจักร์ . ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ กับประสิทธิผลองค์การพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขต 15 กระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.

ดลศิริ จิตต์.บรรยากาศองค์กร ความฉลาดทางอารมณ์ และผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

Locke, E.A., & Latham,G.P. A theory of goal setting and task performance. Englewood Cliffs,NJ: Prentice Hall; 1990.

Prussia, G.E., Anderson, J.S., & Manz,C.C. Self-leadership and Performance Outcome: The Mediating Influence of Self-efficacy. Journal of Organizational Behavior;1998: 19, 523-538.

Schermerhorn, J.R., Hunt, J.G., & Osborn, R.N. (2003). Basic Organization Behavior. New York: Jonh Wiley & Sons; 2003.

Manz, C.C. & Sims, H.P., Jr. Self-management as a Substitute for Leadership: A Social Learning Perspective. Academy of Management Review, 1980:5, 361-367.


11.Houghton, J.D. & Neck, C.P. (2002). The Revised Self-leadership Questionnaire Testing a Hierarchical Factor Structure for Self-leadership: Paper presented at the Annual Meeting of the Southern Management Association, New Orleans, Louisiana,USA. Journal of Management Psychology, 2002;17(8),672- 691. Doi:10.1108/02683940210450484

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25