การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายบริการสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สมพงษ์ จันทร์โอวาท

คำสำคัญ:

: การเสริมสร้างศักยภาพ, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  2) ส่งเสริมภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาพตามวิถีชีวิตในบริบทชุมชน 3) ส่งเสริมสนับสนุนท้องถิ่นในการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุขระยะยาว

       วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบการผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษา เป็นภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  จำนวน 350 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ การศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ การศึกษาสภาพปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนปฏิบัติการ การทดลองปฏิบัติการ และการประเมินผลการปฏิบัติการร่วมกัน

        ผลการวิจัย

  1. เกิดการขับเคลื่อนจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุทุกหมู่บ้านทุกตำบลเป็นชมรมผู้สูงอายุในระอำเภอที่เข้มแข็งโดยมีชมรมผู้สูงอายุระดับอำเภอแกดำเป็นพี่เลี้ยงทุกตำบล และภาคีเครือข่ายสุขภาพ มีความเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
  2. มีการฝึกอบรมทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่จำเป็น เช่น การพลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ การทำกายบริหารป้องกันข้อติด สามารถคัดกรองภาวะสุขภาพตามสมุดบันทึกสุขภาวะผู้สูงอายุได้
  3. มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชน เช่น วงดนตรีพื้นบ้าน การจักสานไม้ไผ่ ด้านความเชื่อการจัดพิธีกรรมการขอขมาสู่ขวัญดูแลจิตใจ  การแปรรูปอาหารพื้นบ้าน

      4.การประเมินผลการพัฒนาตำบลต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอแกดำ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากมีระดับความสุขเท่ากับคนทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 42 และมีความสุขระดับมากกว่าคนทั่วไปร้อยละ 21 เมื่อวิเคราะห์ในรายข้อ พบว่า มีความมั่นใจว่าชุมชนที่อยู่อาศัยมีความปลอดภัยร้อยละ 97 รองลงมาคือ ยังรู้สึกว่าชีวิตมีค่าและมีประโยชน์ ร้อยละ 89

References

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. แผนกลยุทธ์ ปีพ.ศ.2556-2559. (เอกสารอัดสำเนา); 2555.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.รายงานผลปฏิบัติงานประจำปี 2554 (เอกสารอัดสำเนา); 2555.

โรงพยาบาลแกดำ. สถิติผู้มารับบริการโรงพยาบาลแกดำประจำ ปี 2555-2556. (เอกสารอัดสำเนา); 2557.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล.วิจัยจากงานประจำเรียนแบบที่ละขั้น R to R step by step.2553.,50-62.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความสุขคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

ศูนย์อนามัยที่ 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข .องค์ประกอบการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว .ขอนแก่น :ศูนย์อนามัยที่ 6;2557.

ฉัตรวรัญ องคสิงห์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพของชุมชน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25