แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ศรีกุลบุตร

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือเจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น จำนวนประชากร 72 คน ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าของครอนบาค ที่ 0.95 และสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรที่มีบทบาทในการพัฒนางานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 6 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 30 ธันวาคม 2551 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

               ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.40 อายุ 41-50 ปี   ร้อยละ 43.10 (ค่าเฉลี่ย 40.99 ปี, S.D. =9.15) สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 66.70  ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร 21–30 ปี ร้อยละ 43.06 (ค่ามัธยฐาน 18  ปี , S.D.=9.90 )

            แรงจูงใจในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51, S.D.=0.45)โดยปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.60, S.D.=0.47) ปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.42, S.D.=0.50) ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร อยู่ในระดับปานกลาง  (ค่าเฉลี่ย 3.35, S.D.=0.62)  คุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน  แรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.414, p-value<0.001, r=0.415, p-value <0.001, r=0.496, p-value<0.001) ตามลำดับ และตัวแปรที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.001 และ p-value=0.006)  ตามลำดับ   ปัจจัยทั้ง   2 ด้าน สามารถร่วมพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร ร้อยละ 32.1 ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 13.89 เรื่อง แรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ ด้านปัจจัยลักษณะงานและด้านความรับผิดชอบ

References

พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ปี พ.ศ. 2547

นงนุช เศรษฐเสถียร. เคมีคลินิกพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2547.

Schermerhorn, John R., Hunt, G., and Osborn, N. Organizational Behavior.Danver Wiley,2003.

Herzberg, F. et al 1The Motivation to Work. U.S.A.: Transaction publishers,1990.

สมปอง จินาทองไทย.(บทสัมภาษณ์,9 ตุลาคม 2550). หัวหน้ากลุ่มงานพยาธิวิทยา. โรงพยาบาล ศูนย์ขอนแก่น.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น:ภาควิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2547.

Elifson, K. Fundamental of social statistics International edition. Singapore: Mc Graw-Hill,1990.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-11