การรักษานิ่วในท่อไตโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางท่อไต ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
คำสำคัญ:
การรักษานิ่วในท่อไตโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางท่อไตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางท่อไต เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังจากการทบทวนเวชระเบียนและภาพถ่ายเอกซเรย์ของผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่ได้รับการรักษาโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางท่อไต ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ระหว่าง เดือน กรกฎาคม 2549 – ธันวาคม 2552 ในผู้ป่วยจำนวน73 ราย โดยศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อบ่งชี้การรักษา ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษา หลังการรักษา
และผลการรักษา
ผลการศึกษา ผู้ป่วยเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 1.3 เท่า มีอายุเฉลี่ย 48.2 ปี ส่วนใหญ่เป็นนิ่วที่ท่อไตส่วนล่าง และมีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 8 มิลลิเมตร ใช้เวลาในการรักษาเฉลี่ย 48.83 นาที มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 5.5 ที่ต้องรักษาเพิ่มเติมและเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.72 วัน คิดเป็นร้อยละ 98 ของผู้ป่วยไม่พบนิ่วเหลือ
สรุป การรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางท่อไตเป็นมาตรฐานการรักษาของโรคนิ่วในท่อไตสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ มีผลการรักษาที่ดี และภาวะแทรกซ้อนต่ำ
References
James E.Lingeman, Brian R.Matlaga, Andrew P.Evan. Surgical Management of upper urinary tract calculi. Campbell-Walsh UROLOGY ninth edition 2007:1431-507
Zhong W, Zeng G, Cai Y, et al. Treatment of lower ureteral calculi with Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy and pneumatic ureteroscopic lithotripsy: a comparison of effectiveness and complications. Chin Med J 2003;116:1001-3
Lytton B. Complication of ureteroscopy. Semin Urol 1986;4:183-90
Schultz A,Kristensen JK, Bilde T,et al. Ureteroscopy:Result and complications. J Urol 1987;137:865-6
Noor Buchholz NP. Intracorporeal lithotriptors, selecting the optimum machine. BJU Int 2002;89: 157-61
Stoller ML, Wolf JS Jr, Hofmann R, et al. Ureteroscopy without routine ballon dilation : An outcome assessment. J Urol 1992;147:1238-42
Hosking DH, McColm SE, Smith WE. Is stenting following ureteroscopy for removal of distal ureteral calculi necessary?. J urol 1999;161:48-50
Hollenbeck BK, Schuster TG, Seifman BD, et al. Identifying patients who are suitable for stentless ureteroscopy following treatment of urolithiasis. J Urol 2003;170:103-6
Butler MR, Power RE, Thornhill JA, et al. An audit of 2,273 ureteroscpoies a focus on intraoperative complications to justify proactive management of ureteric calculi. Surgeon 2004;2:42-6
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม