การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ โรงพยาบาลมหาสารคาม พ.ศ. 2552
คำสำคัญ:
การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา (descriptive research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ในคลินิกบ้านร่มเย็น โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2552 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการรักษาและให้บริการต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ในกลุ่มอายุ 35-40 ปี เข้ารับการตรวจมากที่สุด ร้อยละ 33.2 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 55.4 มีการใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 26.5 ในส่วนของเทคนิคการตรวจทั้งหมดเป็นการเก็บเนื้อเยื่อปากมดลูก (cervical tissue) และเยื่อบุปากมดลูก (endocervical tissue) ร้อยละ 100.0 ผลการตรวจเนื้อเยื่อปากมดลูกพบเชื้อรา (candida) สูงที่สุด ร้อยละ 9.7 รองลงมาคือ ทริโคโมแนส (tricomonas) ร้อยละ 2.0 จากการศึกษาเนื้อเยื่อที่ส่งตรวจพบ ลักษณะเนื้อเยื่อมีการอักเสบสูงสุดร้อยละ 19.5 และพบการติดเชื้อไวรัสหูด (human papilloma virus) ดังนี้ human papilloma virus change ร้อยละ 0.7 และ human papilloma virus และ cervical intraepithelial neoplasia ร้อยละ 2.0
การพัฒนารูปแบบการให้บริการการคัดกรองที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชน โดยอาศัยแนวคิดของผู้รับบริการและชุมชนเป็นศูนย์กลาง เป็นรูปแบบที่จะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ได้มากขึ้น
References
เพชรินทร์ ศรีวัฒนกุล. การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย. วารสาร โรคมะเร็ง, 28 (1) 2551., 1-3.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข. (2551). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2551.,2551.
Khuhaprema, T., Srivatanakul, P., Sriplung, H., Wiangnon, S., Sumitsawan, Y., Attasara, P. (eds.). (2007). Cancer in Thailand Vol. IV 1998-2000.,2007. Bangkok-Thailand: Bangkok Medical Publisher.
Brewer, N., Pearce, N., Jeffreys, M., White, P., & Ellison-Loschmann, L. (2009). Demographic differences in stage at diagnosis and cervical cancer survival in New Zealand, 1994-2005. Journal of Women’s Health,2009. 18(7), 955-963.
Hakama, M., Miller, A.B., & Day, N.E. (eds.). (1986). Screening for cancer of the uterine cervix. IARC Scientific Pub.77.,1986. Lyon-France: International Agency for Research on Cancer.
วศิน โพธิ์พฤกษ์ และ ยุวดี อำพิน. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ศูนย์แพทย์ ชุมชนตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี.วารสารโรคมะเร็ง,2551.28 (1), 4-12.
โครงการขยายการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ระดับประเทศ. (2553). ผลการวัดผลคุณภาพการดูแลรักษาด้วยโปรแกรม Hivqual-T ระดับจังหวัด,2553. Retrieved 21 June 2010 from http://www.cqihiv.com/ViewProvince.aspx
Ackerson, K., & Preston, S.D. (2009). A decision theory perspective on why women do or do not decide to have cancer screening: Systemic review. Journal of Advanced Nursing,2009. 65 (6),1130-1140.
Bharel, M., Casey, C., & Wittenberg, E. Disparities in cancer sceening: Acceptance of pap smears among homeless women. Journal of Women’s Health2009.(12), 2011-2016.
Wang, X., Fang, C., Tan, Y. Liu, A. & Ma, G.X. Evidence-based intervention to reduce access barriers to cervical cancer screening among underserved Chinese American women. Journal of Women’s Health2010.(3), 463-469.
IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Human papillomaviruses. (1995). IARC monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans,1995. vol. 64. Lyon, France: World Health Organization.
Koutsky, L. (2009). The epidemiology behind the HPV vaccine discovery. Annual Epidemiology2009., 19 (4), 239-244.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม