การพัฒนารูปแบบการชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกรักษ์ไตปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิศรุดา ตีเมืองซ้าย
  • พิชญาภร ภัคสุพศิน

คำสำคัญ:

การชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการชะลอภาวะไตเสื่อมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกรักษ์ไตปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่วิจัยคือ รพ.สต.หนองโน โคกก่อ และห้วยแอ่ง ผู้ร่วมวิจัยคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 จำนวน 70 คน วิจัยมี 3 ระยะ คือ 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะดำเนินการ 3. ระยะประเมินผล ช่วงเวลาวิจัยเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2563 เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกความเค็มของอาหาร บันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 30.80 และความดันโลหิตสูงร้อยละ 65.71มีประวัติโรคไตเรื้อรังร่วมร้อยละ 21 รูปแบบที่เกิดขึ้นคือ“RAKTAI Model” มี10 กิจกรรมคือ 1. สำรวจภาวะไตเสื่อมของพื้นที่ 2. คณะทำงานหาแนวทางชะลอภาวะไตเสื่อม 3. ชี้แจงกิจกรรมในคลินิกและชุมชน 4. พยาบาลชุมชนจัดกิจกรรม“คลินิกรักษ์ไต”5. สร้างความรอบรู้ในชุมชน
6. คัดกรองโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 7. จัดทำ CPG โรคไตเรื้อรังร่วมกับ service plan สาขาไตและพัฒนาศักยภาพพยาบาล 8. เยี่ยมติดตามผู้ป่วยที่บ้าน 9. ติดตามผลภาวะสุขภาพ ทดสอบความเค็มในอาหาร 10. ทบทวนสรุปผลงาน  และพบว่าหลังพัฒนาผู้ป่วยมีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 50 พฤติกรรมการดูแลตนเองระดับสูง ร้อยละ 55.71 ค่า eGFR เพิ่มขึ้นจาก 47.09 เป็น 49.53 ml/min/1.73 m2 และค่าเฉลี่ยความเค็มอาหารลดลงจาก 0.682 เป็น 0.542 อยู่ในระดับไม่เค็ม

สรุปผลการศึกษา : การชะลอภาวะไตเสื่อมจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพ จัดบริการตามมาตรฐานทั้งในคลินิกและในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม นำเทคโนโลยีในการตรวจสอบความเค็มของอาหารเพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ป่วยยิ่งขึ้น

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไต

เรื้อรัง CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564. [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี; [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https:// uto.moph.go.th /lablae/EB9_1.6.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center (HDC) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https:// hdcservice.moph.go.th /hdc/reports.

Kemmis, S. and Mc Taggart, [Internet]. 1990. [CITED 2019 JAN 7]. Available from: www.researchgate.net.

อุไรวรรณ พานทอง. การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2561; 1(2): 48-58.

เบญจมาส เรืองดิษฐ์, เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์, ชูลินดา สะมะแอ. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(3): 194-207.

จันทร์เพ็ญ ประโยงค์, กชกร พุทธา, วินัย กล่อมแก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรังในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(6): 1035-1043.

มนัชญา เสรีวิวัฒนาและคณะ. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อชะลอการเสื่อมของไตโดยใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561; 5(1): 45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28