การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร สุภาทวีวัฒน์

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนระยะก่อนคลอด เปรียบเทียบ 2 กรณีศึกษา

รูปแบบและวิธีวิจัย : ในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2563 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้คลอดและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาล ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 สตรีตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนด้วยความดันโลหิตสูงร่วมกับหายใจเหนื่อยหอบ มีภาวะแทรกซ้อนคือภาวะน้ำท่วมปอด สิ้นสุดการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอด รักษาตัวในโรงพยาบาล 5 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 สตรีตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนด้วยประวัติชักเกร็งที่บ้าน และมีชักซ้ำเมื่อถึงโรงพยาบาล ผลตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์พบมีจุดเลือดออกในสมอง รักษาตัวในโรงพยาบาล 9 วัน           
สรุปผลการศึกษา: จากอุบัติการณ์ดังกล่าวเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจคุกคามต่อชีวิต พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนระยะก่อนคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถลดอุบัติการณ์มารดาและทารกเสียชีวิตได้

References

World Health Organization (WHO). Maternal mortality [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 11]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality.

Cuningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, et al.

Williams Obstetrics. 24thed. New York: McGraw-Hill; 2014.

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สิรยา กิติโยดม. การศึกษาภาวะชักในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557; 29; 129-138.

ปรียา แก้วพิมล. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน: เยาวเรศ

สมทรัพย์, บรรณาธิการ. การผดุงครรภ์เล่ม 1. สงขลา: หาดใหญ่ เบสท์ เซลส์แอนด์ เซอร์วิส; 2558.

ฉวี เบาทรวง. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน: นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวีเบาทรวง, บรรณาธิการ. การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง; 2555.

กลุ่มการพยาบาล. สถิติงานห้องคลอด ปี 2561-2563. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2563.

Woodland M, Hinshaw K, Simpson H, Wieteska S. Pre-hospital obstetric emergency training. Oxford: Wiley-blakwell; 2010.

Ross MG. Eclampsia: Overview, Etiologic and Risk Factors for Preeclampsia/Eclampsia, Multiorgan System Effects. Medscape Reference Drugs,Diseases & Procedures [Internet]. 2016 [cited 2016 Apr 28]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/253960overview

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28