ผลการรักษาภาวะ fracture distal end radius และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลบรบือ
คำสำคัญ:
Fracture distal end radius, ผลการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, โรงพยาบาลบรบือบทคัดย่อ
บทนำ : Fracture distal end radius เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ มีการศึกษาอย่างกว้างขวางในผลลัพธ์การรักษาภาวะนี้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการศึกษาผลลัพธ์การรักษาภาวะนี้ในโรงพยาบาลบรบือ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาของภาวะfracture distal end radius และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลบรบือ
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็น Analytic study by retrospective data collection ผู้ป่วยที่วินิจฉัย fracture distal end radius ในโรงพยาบาลบรบือ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561-31 ธันวาคม 2563 จำนวน 107 ราย และติดตามการรักษาจนครบ 1 ปี
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง 58 ราย(ร้อยละ 54.2) อายุเฉลี่ย 48.00 +/-16.18 ปี อายุตั้งแต่ 20-86 ปี สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เกิดที่ นา สวน ไร่ 40 ราย(ร้อยละ 37.4) กลไกการบาดเจ็บส่วนมากเป็นแบบlow energy 69 ราย(ร้อยละ64.5) ประเภทการหักส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ 3 (Type 3 : Compression fracture of the joint surface) 66 ราย (ร้อยละ 61.7) วิธีการรักษาส่วนใหญ่ใช้วิธี Casting 61 ราย (ร้อยละ 57.0) รองลงมา plating 42 ราย (ร้อยละ 39.3) พบภาวะ Volar comminution 52 ราย (ร้อยละ 48.6) และพบภาวะ Dorsal comminution 70 ราย (ร้อยละ 65.4) ที่ 12 สัปดาห์ยังพบอาการปวด 81 ราย (ร้อยละ 75.7) เมื่อติดตามการรักษาจนครบ 1 ปี พบว่าผลการรักษาดีขึ้น 70 ราย (ร้อยละ65.4) และผลการรักษาไม่ดีขึ้น 37 ราย (ร้อยละ 34.6) ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ, สถานที่เกิดเหตุ, กลไกการบาดเจ็บ, ชนิดของการหัก,วิธีการรักษา, Volar comminution, อาการปวดเมื่อ 12 สัปดาห์ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีผลต่อการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า Radial Height, Radial inclination, Volar tilt เมื่อวัดที่ Injury film, Post reduction และ Follow up เมื่อ 1 ปี พบว่าทั้ง 3 parameter มีค่าที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา : Fracture distal end radius พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ผลการรักษาภาวะดังกล่าวในโรงพยาบาลบรบือได้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรักษาที่ได้ผลดี เช่น อายุ, สถานที่เกิดเหตุ,กลไกการบาดเจ็บ, ชนิดของการหัก, วิธีการรักษา, Volar comminution, อาการปวดเมื่อ 12 สัปดาห์
References
2. Johanna Rundgren, Alicja Bojan, Cecilia Mellstrand Navarro, Anders Enocson. Epidemiology, classification, treatment and mortality of distal radius fractures in adults: an observational study of 23,394 fractures from the national Swedish fracture register. BMC Musculoskelet Disord. 2020 Feb 8;21(1):88.
3. Prabu.M, SushmaChandrashekar. Functional Outcome of Distal End Radius Fractures after surgery: A Follow Up Study. Pondicherry J Nurs. 2017;11(2):1–6.
4. Jonathan Cowie, Raymond Anakwe, Margaret McQueen. Factors associated with one-year outcome after distal radial fracture treatment. J Orthop Surg Hong Kong. 2015 Apr;23(1):24–8.
5. Jack A. Porrino, Ezekiel Maloney, Kurt Scherer, Hyojeong Mulcahy, Alice S. Ha, Christopher Allan. Fracture of the distal radius: epidemiology and premanagement radiographic characterization. AJR Am J Roentgenol. 2014 Sep;203(3):551–9.
6. Yassine Ochen, Jesse Peek, Detlef van der Velde, Frank J. P. Beeres, Mark van Heijl, Rolf H. H. Groenwold, et al. Operative vs Nonoperative Treatment of Distal Radius Fractures in Adults: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Netw Open. 2020 Apr 1;3(4):e203497.
7. Gauresh V. Distal end radius fractures: evaluation of results of various treatments and assessment of treatment choice. Chin J Traumatol. 2014 Aug 1;17(4):214–9.
8. Annechien Beumer, Catharina Adlercreutz, Tommy R. Lindau. Early prognostic factors in distal radius fractures in a younger than osteoporotic age group: a multivariate analysis of trauma radiographs. BMC Musculoskelet Disord. 2013 May 22;14:170.
9. Ho-Wook Jung, Hanpyo Hong, Hong Jun Jung, Jin Sam Kim, Ho Youn Park, Kun Hyung Bae, et al. Redisplacement of Distal Radius Fracture after Initial Closed Reduction: Analysis of Prognostic Factors. Clin Orthop Surg. 2015 Sep;7(3):377–82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม