การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพิ่มพูน ศิริกิจ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ, ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา : กรณีศึกษา 2  ราย

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และเวชระเบียนผู้ป่วยในวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการเขียนผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลทั่วไป  แบบแผนสุขภาพ การรักษา  ข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบของ NANDA และการพยาบาล ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย   

              ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 รายเข้ารับการรักษาในหน่วยงานผู้ป่วยหนักอายุกรรม ผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉินจาก septic shock ทำให้ระบบหายใจและการไหลเวียนล้มเหลวจึงต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับติดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนาน 18 วันจึงจะสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้  ดังนั้น พยาบาลที่ดูแลต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพ  การดำเนินของโรค ความสามารถประเมินผู้ป่วย และให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงการปฏิบัติตามแนวทางการการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้อง จึงช่วยให้ผู้ป่วยพ้นระยะช็อกและช่วยลดอุบัติการณ์การเกิด VAP รวมทั้งพยาบาลควรคำนึงถึงภาวะด้านจิตใจ และความต้องการของผู้ป่วยและญาติแต่ละราย ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษาและดูแลสุขภาพต่อไป

References

นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล. ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อ การดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของ โรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. The Journal of Baromarajonani College of Nursing. 2018; 2(24):78-95.

สุภาพ ลิ้มเจริญ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสาร สถาบันบำราศนราดูร. 2018; 1(12): 32 -42.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ) และการควบคุมและ ป้องกันโรคติดเชื้อดื้อยา ปฏิชีวนะ. เวชบันทึกศิริราช. 2556; 6(2): 117-120.

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข; 2563

โรงพยาบาลมหาสารคาม. กลุ่มการพยาบาล.สถิติงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ปี 2562 -2564. มหาสารคาม:โรงพยาบาล; 2563.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and application. New York: McGraw- Hill; 1994.

วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติ บุคคลสหประชาพานิชย์; 2554.

เมตตา เขียวแสวง, อรสุดา โสภาพรม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วย หายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี. Mahidol R2R e-Journal. 2563;7(1): 97 -109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30