ความพึงพอใจของบุคลากรที่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการยุคโควิด 2019 สังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุจิราพร ศรีตระการโกศล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ข้าราชการ, การบรรจุเข้ารับข้าราชการ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการของบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลมหาสารคามที่ปฏิบัติงานในยุคโควิด 2019

          วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มบุคลากรที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในสังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม ที่ปฏิบัติงานในยุคโควิด 2019 วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจด้วยค่าเฉลี่ยและร้อยละ

          ผลการศึกษา : พบว่ามีข้าราชการที่ได้รับการบรรจุในสังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2563-2564 ทั้งหมด 10 ตำแหน่ง จำนวน 113 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 100 คน (ร้อยละ 88.50) มีตำแหน่งก่อนบรรจุเป็นประเภทพนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 18.59 ประเภทพนักงานกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 48.67  และประเภทลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน คิดเป็นร้อยละ  32.74 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเภทวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 97.35 ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 73.45 ระยะเวลา        การทำงานแล้วหรือบรรจุใหม่ ค่าเฉลี่ย 2.61 ปี (S.D.=2.00)  จากผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจด้านกระบวนการสรรหา คัดเลือก บรรจุ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.03, S.D.=0.75 ) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความพึงพอใจในตำแหน่งงานที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ อยู่ในระดับมาก (x̄=3.91, S.D.=0.85) และระดับความพึงพอใจในความก้าวหน้า ความมั่นคงในสายงานอาชีพ และคุณภาพชีวิตของข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ อยู่ในระดับมาก (x̄=3.88, S.D.=0.80)

          สรุปผลการศึกษา : ระดับความพึงพอใจของบุคลากรที่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการยุคโควิด 2019 สังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ได้รับความพึงพอใจในระดับมากเป็นลำดับแรกคือด้านตำแหน่งงานที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้ารับราชการ (x̄=3.91,S.D.=0.85) รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้า ความมั่นคงในสายงานอาชีพ และคุณภาพชีวิตของข้าราชการ (x̄=3.88,S.D.=0.80 ) และด้านกระบวนการสรรหา การคัดเลือก บรรจุ (x̄=4.03,S.D.=0.75)

References

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย. นนทบุรี: กรกนกการพิมพ์, 2558.

พะยอม วงศ์สารศรี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาการจัดการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2558.

เบญจธรรม ดิสกุล. การรับราชการ: แรงจูงใจในการบริการสาธารณะหรือสวัสดิการในองค์กร. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วรรษพร อากาศแจ้ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของคนเก่งในระบบราชการ . WMS Journal of Management Walailak University. 2013 ; 2 (2):47-58.

วีณา จึงวิวัฒน์นิกุล. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

กลุ่มงานวิชาการและการพัฒนาสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล. รายงานการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล, 2555

Lansberg, I. & Gersick, K.. Educating Family Business Owners : The Fundamental Intervention. Academy of Management Learning & Education. 2015 ;14(3) : 400–413.

อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. กลยุทธ์การบริหารและพัฒนาคนเก่ง. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์; 2550

Barry Cushway. Designing and Achieving Competency: a Competency Based Approach to Developing Peope and Organization. Lndon : McGraw-Hill; 1994.

กฤตยา ฐานุวรภัทร์. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. [รายงานวิจัย]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่; 2555.

สคาญจิต อุดมกิจวัฒนา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการให้บริการของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย : กรณีศึกษาผู้ให้บริการธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2552

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30