ประสิทธิผลและความพึงพอใจของการจัดการส่งเวรด้วยรูปแบบ SBAR ในระบบ HIS ของพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐวดี ชำปฏิ -
  • เบญจภรณ์ ต้นจาน

คำสำคัญ:

การจัดการการส่งเวรรูปแบบ, SBAR ในระบบ HIS, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลด้านความถูกต้องและความครบถ้วน และศึกษาความพึงพอใจของการส่งเวรโดยใช้รูปแบบ SBAR ในระบบHIS ของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น

รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ( Quasi-experimental research ) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง ( One group Pretest – Posttest Design ) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 12 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 โดยใช้แบบประเมินผลและแบบประเมินความพึงพอใจของการส่งเวรด้วยรูปแบบ SBAR และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired-test

          ผลการศึกษา : พบว่าการรับส่งเวรของพยาบาลภายหลังการใช้รูปแบบ SBAR ในระบบ HIS มีค่าคะแนนเฉลี่ยความถูกต้องและความครบถ้วนโดยรวมสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-4.866, P=<.001) เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน ได้แก่ ด้านสถานการณ์ ด้านภูมิหลัง ด้านผลจากกิจกรรมและด้านข้อเสนอแนะ พบว่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านของการรับส่งเวรของพยาบาลภายหลังใช้รูปแบบ SBAR ในระบบ HIS มีความถูกต้องและครบถ้วน สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=<0.001) และความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.34, S.D. = 0.599)

สรุปผลการศึกษา : การรับส่งเวรโดยใช้รูปแบบ SBAR ในระบบ HIS ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยมีความถูกต้องและครบถ้วนสูงกว่าการส่งต่อข้อมูลโดยใช้รูปแบบปกติ มีกรอบการส่งต่อข้อมูลในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสาร และพยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก

References

กนกขวัญ เผ่าทิพย์จันทร์, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการสื่อสารขีดความสามารถด้านความปลอดภัยกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558;7(1):210-222.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์. การสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลด้วยเทคนิคเอสบาร์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2563;21(41):91-103.

เดชชัย โพธิ์กลิ่น. ประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ที่แผนกผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2559;22(4):484-496.

พรพิมล ศรีสาราญ, กัลย์สินี วิเศษสิงห์, กฤตยา ตันติวรสกุล. การพัฒนารูปแบบการรายงานการเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561;37(3):238-250.

รัชนี ศิริวัฒน์, นิตยา โรจน์ทินกร, สุรัตน์ คร่าสุข, จิราพร พอกพูนทรัพย์, จันทร์ทิรา เจียรณัย. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการพยาบาลแบบไร้รอยต่อโดยใช้เทคนิค SBAR ในระยะเปลี่ยนผ่านการดูแล งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(1):60-69.

ลัดดา มีจันทร์, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. พยาบาลสาร. 2563;47(2):394-405.

แสงจันทร์ หนองนา, นิลเนตร สุดสวาท, ดวงสุดา วัฒนธัญญการ. ประสิทธิผลของการจัดการส่งเวรด้วยรูปแบบ SBAR ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563;2(1):45-57.

Berlo D. The process of communication [Internet]. 2019 [cited 2022 May 11]. Available from: http://puvadon.multiply.com/joural/item/4

Casey A, Wallis A. Effective communication. Principle of Nursing Practice E. Nurse Stand. 2011; 25(32):35-7.

Joint Commission International. Sentinel Event data released for 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 April 25]. Available from: https://www.jointcommission.org/ resources/news-and-multimedia/newsletters/ newsletters/joint-commission-online/march-9-2022/sentinel-event-data-released-for-2021

Leonard M. Creating a culture of safety. Colorado patient safety coalition [Internet]. 2009 [cited 2022 May 21]. Available from http://www.ihi.org.

Stewart K, Hand K. SBAR communication and patient safety An integrated literature review. MEDSURG Nursing. 2017;26(5):297-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27