ผลการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วิสัย คะตา ratchathani university
  • พัชนี สมกำลัง
  • นาฎนภา อารยะศิลปะธร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  

รูปแบบและวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองที่มีบุตรวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี จำนวน 30 คน ประชุมระดมสมองร่วมกัน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: ความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อยู่ในระดับน้อย จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 ระดับปานกลาง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ความเสี่ยงสูง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.90, S.D = .31 ) ปัญหาอุปสรรคการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน ความเป็นอิสระในการคิดการตัดสินใจ การเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรม

สรุปผลการศึกษา: รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน จังหวัดนครพนม สามารถนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

References

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.legal.moph.go.th/

รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th

รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัดเขตสุขภาพที่ 8. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th

อรทัย ปานเพชร, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น: แนวทางการป้องกันและ เฝ้าระวัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 2563;2:280-292.

สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว. ชีวิตครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริม สถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ; 2555.

สถาบันรามจิตติ. โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนไทย (Child Watch). กรุงเทพฯ: สถาบันรามจิตติ ; 2555.

สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ และคณะ. มหิดลโมเดล : รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่อย่างบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;1:75-90.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม. แผนและยุทธศาสตร์การ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจังหวัดนครพนมปีงบประมาณ 2558. เอกสารอัดสำเนา.

Kemmis, S., & McTaggart, R. Participatory action research. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research. 2nd ed.. Thousand Oaks, CA: Sage; 2000.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, นฤมล เอื้อมณีกุล , สุนีย์ ละกำปั่น. การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น : แนวคิดและการจัดการหลายระดับ. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2560.

มณีรัตน์ เทียมหมอก และเกศินี สราญฤทธิชัย. การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศของวัยรุ่นในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 2560; 3:38-46.

สุดาภรณ์ อรุณดี, วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์, พรรณทิพย์ กาหยี ,วรวุฒิ พึ่งพัก. ความต้องการของ แม่วัยเยาว์เพื่อการแก้ไขปัญหาและป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น. วารสาร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2559;1:46-61.

นภาพร มีบุญ และสุริยะ หาญพิชัย. สาเหตุการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นในเขตพื้นที่ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี. 2560;1:71-81.

สุชาติ รัตถา, เรขา อรัญวงศ์ และรัชนี นิธากร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นจังหวัดกำแพงเพชร [สาขาวิชายุทธศาสตร์การ บริหารและการพัฒนา, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29