การศึกษาผลของสบู่ในการลดความแข็งของชิ้นเนื้อที่ฝังในพาราฟิน
คำสำคัญ:
กระบวนการเตรียมชิ้นเนื้อ, บล็อกพาราฟิน, น้ำสบู่, เนื้องอกมดลูก, เนื้องอกไทรอยด์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประยุกต์ใช้น้ำสบู่ในการทำให้ชิ้นเนื้อที่แข็งหรือเหนียวอ่อนนุ่มลงหลังจากการฝังในบล็อกพาราฟิน
รูปแบบและวิธีวิจัย : ตัวอย่างชิ้นเนื้อจากเนื้องอกมดลูกและต่อมไทรอยด์ (n=240) ผ่านกระบวนการเตรียมชิ้นเนื้อทางจุลพยาธิวิทยานำไปแช่ในน้ำสบู่ pH 7 และpH 10 เป็นระยะเวลา 1, 2, 3 และ 4 นาทีต่อ 1 บล็อกและตัดเป็นสไลด์ ประเมินความอ่อนนุ่มของชิ้นเนื้อในบล็อกพาราฟินและคุณภาพการติดสี H&E
ผลการศึกษา : การแช่บล็อกชิ้นเนื้อในน้ำสบู่เป็นระยะเวลานาน 3 นาที มีผลทำให้ชิ้นเนื้อในบล็อกพาราฟินมีความอ่อนนุ่มลงมากที่สุด (10 จาก 21 บล็อก 47.6%) ใน pH 7 และ 9 จาก 14 บล็อก (64.3%) ใน pH 10) คุณภาพการติดสีที่ไม่ดี (10 จาก 10 บล็อก 100%) สัมพันธ์กับการแช่ชิ้นเนื้อในน้ำสบู่ pH 10 เป็นระยะเวลา 3 หรือ
4 นาที
สรุปผลการศึกษา : บล็อกชิ้นเนื้อที่แช่น้ำสบู่ pH 7 เป็นระยะเวลา 3 นาที ทำให้ได้ชิ้นเนื้อมีความอ่อนนุ่มและคุณภาพการติดสีดีที่สุด
คำสำคัญ : กระบวนการเตรียมชิ้นเนื้อ, บล็อกพาราฟิน, น้ำสบู่, เนื้องอกมดลูก, เนื้องอกไทรอยด์
References
Hillemann HH., Lee CH. Organic chelating agents for decalcification of bones and teeth. Stain Technol. 1953 Nov;28(6):285-7.
Gooding H, Stewart D. A comparative study of histological preparations of bone: which have been treated with different combinations of fixatives and decalcifying fluids. Lab. J. 932;7:55.
Clayden, EC. A discussion on the preparation of bone sections by the paraffin wax-method with special reference to the control of decalcification. J. Med. Lab. Technol. 1952;70:103-23.
Gray SJ. Practice of microtomy. Essentials of Microtomy. London: Butterworths, 1972;72
Pearlman RC, Cole BC. Softening of hard tissue for sectioning. Stain Technol. 1951;26:115–8.
Turner PJ, Holtom DB. The use of a fabric softener in the reconstitution of mummified tissue prior to paraffin wax sectioning for light microscopical examination. Stain Technol. 1981;56:35–8.
Orchard GE, Torres J, Sounthararajah P. Use of softening agents to improve the production of formalin-fixed, paraffin embedded sections of nail tissue: an assessment. Br J Biomed Sci. 2008;65:68–70.
Orchard GE, Torres J, Poirier A, Sounthararajah R, Webster J, Notini L, Hacker L, Ismail F, Nwokie T, Humphrey P, Spigler E, Missaghian-Cully S, Brewer C, Meredith-Jones A. Investigation into a new softening agent for use on formalin-fixed, paraffin wax- embedded tissue. Br J Biomed Sci. 2009;66(2):63-6.
กัลยา ผลากรกุล. เนื้อเยื่อพื้นฐานของร่างกายและหลักการปฏิบัติงานด้านพยาธิวิทยา. กรุงเทพฯ: ดีไซร์; 2534.
Winsor L. Tissue Processing. In Woods AE and Ellis RC eds. Laboratory Histopathology. New York: Churchill Livingstone. 1994;4;2-37.
Singer M Factors which control the staining of tissue sections with acid and basic dyes. Int Rev Cytol 1952;1:211-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม