ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและภาวะหายใจลำบาก ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบบ่อยครั้ง

ผู้แต่ง

  • ศิวพล ศรีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชนิสรา แสนยบุตร วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปวีณกานต์ จวนสาง โรงพยาบาลนาเชือก
  • นิสากร วิบูลชัย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ภาวะหายใจลำบาก, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและภาวะหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ 

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (One group pre-posttest design)โดยใช้โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ จำนวน 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยก่อนการทดลองผู้ป่วยจะได้รับระบบริการสุขภาพแบบปกติของคลินิก ระยะเวลา 4 สัปดาห์ และหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยจะได้รับระบบบริการสุขภาพตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การฝึกทักษะการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วย 2) การฝึกทักษะผู้ดูแลในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย 3) ระบบการส่งต่อและการเชื่อมประสานการดูแล 4) ระบบพี่เลี้ยงและติดตามกำกับ ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ตั้งแต่ กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2560 วิเคราะห์ลักษณะทางประชากรและข้อมูลทางคลินิกโดยใช้สถิติบรรยาย และทดสอบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและภาวะหายใจลำบาก โดยใช้ Paired t-test

ผลการศึกษา : ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) (ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม gif.latex?\bar{X}= 19.40, SD= 2.06) และหลังเข้าร่วม gif.latex?\bar{X}= 27.10, SD= 0.95) และค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการหายใจลำบากลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) (ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม gif.latex?\bar{X}= 55.56, SD= 6.63 และและหลังเข้าร่วม gif.latex?\bar{X} = 42.40, SD= 9.53)

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในระบบการพยาบาลและบริการสุขภาพในโรงพยาบาล

References

กรมการแพทย์ สถาบันโรคทรวงอก. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม2561]. เข้าถึงได้จาก: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชชูปถัมภ์. ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเตอร์ไฟรซ์ จำกัด; 2560

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. การส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2560;11(2):97-104.

นุชรัตน์ จันทโร, เนตนภา คู่พันธวี, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง ต่อความสามารถในการจัดการอาการและอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. Songklanagarind Journal of Nursing. 2561;38(3):25-37.

Glasgow, W. E., & Whitlock, E. A’s Behavior Change Model Adapted for Self‑Management Support Improvement. Change. [Internet] 2002. [Cited 2018 October 16 ] Available from : https://www.uspreventiveservicestaskforce.org/home/ getfilebytoken/vGpPzqpTfEzP42Woby59Ds

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: บริษัทยูเนียน อุลตร้า ไวโอเร็ต จำกัด; 2553.

ปวีณา จวนสาง, นิสากร วิบูลชัย, นภาพร ตุ่ยสิมมา, และ ธิดารัตน์ รอดแสดง. การพัฒนากระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. เอกสารรายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโรงพยาบาลนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม; 2560.

ชลภูมิ รุ่งรจนา และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาต่อ อาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558;7(1):197-209.

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press; 1977.

อารีรัตน์ ม่วงไหมทอง. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการกับอาการหายใจลำบากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2551.

Gift, A. G. Validation of a vertical visual analog scale as a measure of clinical dyspnea. Rehabilitation Nursing. 1989; 14(6): 323-325. doi:10.1002/j.2048-7940.1989.tb01129.x

วิภาณี คงทน, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนิงนิจ พงศ์ถาวรกมล และนัฐพล ฤทธิ์ทยมัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษาไปข้างหน้า. วารสารสภาการพยาบาล. 2019;34(3):76-90.

อุษา เอี่ยมละออ, เยาวเรศ สายสว่าง, ปิยะลักษณ์ ฉายสุวรรณ และอารีย์ โกพัฒนกิจ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. 2018;12(2):240-252.

Kaiqin Tian. The gender difference on acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease combined with osteoporosis. AIP Conference Proceedings 10 January 2019;2058(1):020048.https://doi.org/10.1063/1.5085561

Kilic H, Kokturk N, Sari G, Cakır M. Do females behave differently in COPD xacerbation? Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2015 Apr 24;10:823-30. 16. ธนัญชกร ช่วยท้าว. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง อาการหายใจลำบากและสมรรถภาพปอด (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ละเอียดจารุสมบัติ, พิทักษ์ ไชยกูล และ เวทิส ประทุมศรี. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบากและความทนทานในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 2558;21(3):352-367.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17