การพัฒนากระบวนการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทคู่สัญญา
คำสำคัญ:
ตรวจสุขภาพประจำปี, บริษัทคู่สัญญา, ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้รับบริการในกลุ่มบริษัทคู่สัญญาโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่นในการลดระยะเวลาการใช้บริการ 2. เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบระยะเวลาการใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้รับบริการในกลุ่มบริษัทคู่สัญญาก่อนและหลังการปรับกระบวนการให้บริการตรวจสุขภาพ
รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and development: R&D) ทำการศึกษาในผู้รับบริการทั้งหมดของบริษัทคู่สัญญาที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น เดือนมกราคม–ธันวาคม ในปี 2563-2565 จำนวน 5,491 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือกระบวนการให้บริการตรวจสุขภาพ (Corporate Checkup workflow) แบบใหม่ ร่วมกับแบบบันทึกระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสุขภาพและสถิติจำนวนผู้รับบริการกลุ่มบริษัทคู่สัญญา ซึ่งผู้ศึกษาปรับปรุงขั้นตอน เอกสาร กระบวนการทำงานและอัตรากำลังเพื่อลดขั้นตอนและการยืดหยุ่นของ flow โดยใช้กรอบแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการใช้บริการ วิเคราะห์ด้วยสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ (nonparametric) ทดสอบด้วย Kruskal Walis test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา : การใช้ Corporate Checkup workflow แบบใหม่ในการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 ลดระยะเวลาในการรับบริการตรวจสุขภาพลง 22.82 นาที (ร้อยละ 32) และ 13.90 นาที (ร้อยละ 22) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ แต่เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยของระยะเวลารวมที่ใช้บริการตรวจสุขภาพของผู้รับบริการปี 2563-2565 โดยใช้สถิติ Kruskal Wallis test พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของระยะเวลารวมที่ใช้บริการตรวจสุขภาพไม่แตกต่างกัน Chi-square 3.245 (p-value = 0.197)
สรุปผลการศึกษา : Corporate Checkup workflow แบบใหม่ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นสามารถลดระยะเวลาในการตรวจสุขภาพของผู้รับบริการในกลุ่มบริษัทคู่สัญญาของโรงพยาบาลได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนที่ 80 ก (ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563)
กรณิภา คงยืน, พรนภา เพชรไทย และทีมงานฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู. การลดระยะเวลารอคอยตรวจแพทย์ (Reduce the waiting time). ใน : การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่อง การแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน; 2 เมษายน 2556; ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gj.mahidol.ac.th/tech/FileDownload/ File/D150511180956.pdf
ไพรฑูรย์ ทิ้งแสน, อารีย์ นัยพินิจ. การกำหนดแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอยการให้บริการ ตรวจโรคทั่วไปของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2564;10(1):59-72.
เวธิต พจน์ทวีเกียรติ, รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแผนกตรวจสุขภาพด้วยการจำลองสถานการณ์ [อินเตอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.dms.eng.su.ac.th/filebox/FileData/OR018.pdf
ปริตรา มั่นเหมาะ, ธนัญญา วสุศรี. การจำลองสถานการณ์เพื่อลดเวลารอคอยของผู้รับบริการ แผนกผู้รับบริการนอก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2562; 15(2):51-62.
Azraii AB, Kamaruddin KN, Ariffin F. An assessment of patient waiting and consultation time in a primary healthcare clinic. Malaysian Fam Physician. 2017;12(1):14–21.
Yogesh Tiwari, Sonu Goel, and Amarjeet Singh. Arrival time pattern and waiting time distribution of patients in the emergency outpatient department of a tertiary level health care institution of North India. Journal of Emergencies, Trauma, and Shock. 2014;7(3):160-165.
Suong Thi Thao Nguyen et al. Waiting time in the outpatient clinic at a national hospital in Vietnam. Nagoya J. Med. Sci. 2018;80(2):227–239.
Cuttaliya Vasuthada. The Operational System Improvement for Service Time Reduction of Patients with Chronic Diseases, Thachang Primary Care Unit, Chanthaburi Province. Journal of Phrapokklao Nursing College . 2017;28(1):80-89.
Kriengkrai thana. The Study to Enhance Efficiency of Medication Dispensary Process for Outpatient Department, Pharmaceutical Division, Khumket Building, Bhumibol Adulyadej Hospital. Sci & Tech.J. NKRAFA. 2020;16(1):1–15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม