ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กัญยา ทูลธรรม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุภาพร สุภาทวีวัฒน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, อัตราความถูกต้องครอบคลุม, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective study) จากเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวหรือครรภ์แฝดที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 260/7 ถึง 366/7 ที่เข้ารับการรักษาและคลอดที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 รายงานผลด้วยจำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดโดยใช้สถิติ Logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ P-value <0.05

ผลการศึกษา : สตรีตั้งครรภ์ทั้งหมด 145 คน ได้ถูกวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ มีประวัติเคยเข้ารับการรักษาด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมากกว่า 1 ครั้ง (ORadj 25.77, 95%CI 7.81-84.96, P <0.001) ปากมดลูกมีการเปิดขยายเมื่อแรกรับ (ORadj 6.77, 95%CI 2.09-21.92, P =0.001) และภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (ORadj 3.83, 95%CI 1.50-9.78 P =0.005) อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 50.34% และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 64.14%

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ เคยเข้ารับการรักษาด้วยเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมากกว่า 1 ครั้ง ปากมดลูกมีการเปิดขยายเมื่อแรกรับ และมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 50.34% และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เท่ากับ 64.14%

References

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด. ใน: ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564. หน้า 244-259.

อุ่นใจ กออนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันรักษา. สูตินรีแพทย์ สัมพันธ์. 2562;28(1):8-15.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564; 2564 [ปรับปรุงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY. William obstetrics. 23rd ed. New York: Mc GRAW- Hill; 2010.

สายฝน ชวาลไพบูลย์, สุจินต์ กนกพงศ์ศักดิ์. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำ เดินในครรภ์ก่อนกำหนด(Preterm Labor and Preterm Premature Rupture of Membranes). เวชบันทึกศิริราช. 2554;4(2):25-39.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการ สุขภาพฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน); 2561.

ธารทิพย์ อุทัยพัฒน์. อัตราความสำเร็จของการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2563;24(2):1-10.

Huang A, Ji Z, Zhoa W, Hu H, Yang Q, Chen, D. Rate of gestational weight gain and preterm birth in relation to prepregnancy body mass indices and trimester: a follow-up study in China. Reproductive health. 2016;13:1-7.

Shmuely A, Aviram A, Bashi T B, Hadar E, Krissi H, Wiznitzer A, et al. Risk factors for spontaneous preterm delivery after arrested episode of preterm labor. The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine. 2016;29(5):727-732.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์, ตรีนุช คำทะเนตร. ปัจจัยทำนายการคลอด ก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์จังหวัดนครพนม. วารสารกองการพยาบาล. 2562;46(3):73- 86.

Soundarajian P, Muthuramu P, Veerapandi M, Mariappan R. Retrospective study factors related to preterm birth in Government Raja Mirasudar hospital and obstetric and perinatal outcome. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol. 2016 Sept;5(9):3006-3010.

วิทวัส หาญอาษา. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565;30(1):35-44. 13. สุดานี บูรณเบญจเสถียร. ประสิทธิผลของการดูแลสตรีตั้งครรภ์ตามมาตรการการดูแลสตรี ตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลแม่จัน. เชียงรายเวชสาร. 2560;9(2):41-52.

วิไลรัตน์ วิศวไพศาล, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์, สาธิษฐ์ นากกระแสร์. ปัจจัยที่มีผลต่อการ ทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2559;8(2):83-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17