ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพต่อคุณภาพบริการพยาบาล ด้านการสื่อสาร หน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ บุญถม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สุมินตรา ทับสมบัติ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ณัฐวุฒิ สุริยะ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสาร, คุณภาพบริการพยาบาล, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพบริการด้านการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยนอกก่อนและหลังได้รับการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสาร 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
รูปแบบและวิธีวิจัย
: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม 45 คน และผู้รับบริการ 378 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสาร แบบประเมินคุณภาพบริการ
และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired samples t-test

ผลการศึกษา : 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพบริการด้านการสื่อสารพยาบาลวิชาชีพหลังการได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านการสื่อสารอยู่ในระดับมาก (  =3.99)

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารพยาบาลวิชาชีพ สามารถปรับเปลี่ยนให้คุณภาพ
บริการด้านการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นได้

References

เปรมฤดี ศรีวิชัย, กันติยา ลิ้มประเสริฐ. พฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(1):137-148.

อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, เสาวรส จันทมาศ. คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับ องค์การพยาบาล : กลไกและการปฏิบัติสภาการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: จุดทองการพิมพ์; 2562.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติผู้ป่วยนอก งานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2565.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปประเมินคุณภาพประจำปี 2562-2564. งานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2565.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. แผนยุทธศาสตร์กลุ่มการพยาบาลปี 2562-2566. โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2565.

สุวรรณา เพิ่มพูน. โปรแกรมการฝึกอบรมพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของพยาบาลต่อคุณภาพบริการ พยาบาลด้านการสื่อสารงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.

Goldstein A P. and Sorcher M. Theoretical Knowledge: Organizational behavior and it objections. New York: Permon;1974

บังอร ยุววิทยาพานิช. ผลของการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อการทำงานเป็นทีม ของบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยตรวจโรคตา. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 2550;13(1):70-81.

Krejcie R V. and Morgan D W. Determining sample size for research activities: Education and Psychological measurement;1970

ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ. พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้และประสบการณ์ของ หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2542.

ชวนพิศ คชรักษ์. ประสิทธิผลการสื่อสารของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17