การพัฒนานวัตกรรม “Safety wheel: หมุนปุ๊บ รู้ปั๊บ”เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สายวลุน จันทคาม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • บุศรินทร์ ไชยพรม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วุฒิชัย โพธิ์สม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิไลลักษณ์ เผือกพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, แผลกดทับ, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมSafety wheel: หมุนปุ๊บ รู้ปั๊บภายใต้การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2. เพื่อทดสอบประสิทธิผลการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-19และ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development: R&D) เพื่อพัฒนาทดสอบประสิทธิผล และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมSafety wheel: หมุนปุ๊บ รู้ปั๊บโดยใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพเป็นกรอบแนวคิดซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะคือ 1. การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2. การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3. การนำสิ่งประดิษฐ์ไปทดลองใช้ และ 4. การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริง ในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1. แบบบันทึกการเกิดแผลกดทับ 2. แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ 3. แบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลตามแนวทางนวัตกรรม และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา : พบว่านวัตกรรม “Safety wheel: หมุนปุ๊บ รู้ปั๊บ” ที่พัฒนาขึ้น มีความคงทน แข็งแรง สะดวกต่อการใช้งานในห้องความดันลบ การทดสอบประสิทธิผลพบว่า ภายหลังการนำนวัตกรรมไปใช้จริง มีอัตราการเกิดแผลกดทับเป็น 0 ต่อ 1,000 วันนอนเสี่ยง พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 92.52

สรุปผลการศึกษา : ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ ช่วยลดอัตราการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 อย่างมีประสิทธิผลพยาบาลวิชาชีพควรนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ และควรมีการประเมินประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมในระยะยาว

References

Tang J, Li B, Gong J, Li W, Yang J. Challenges in the management of critical ill COVID‐19 patients with pressure ulcer. International Wound Journal. 2020;17(5):1523.

Mervis JS, Phillips TJ. Pressure ulcers: Prevention and management. Journal of the American Academy of Dermatology. 2019;81(4):893-902.

Jiang H, Liang Y, Xinmei L, Donghong Y, Mengmiao P, Yun C, et al. The risk factors-based nursing case management could effectively reduce the incidence of pressure sores in hospitalized patients. Iranian Journal of Public Health. 2021;50(3):566.

หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปตัวชี้วัด เกณฑ์ และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2564. มหาสารคาม, โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2564.

Ibarra G, Rivera A, Fernandez-Ibarburu B, Lorca-García C, Garcia-Ruano A. Prone position pressure sores in the COVID-19 pandemic: The Madrid experience. Journal of Plastic, Reconstructive & Aesthetic Surgery. 2021;74(9):2141-8.

หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปผลการปฏิบัติการพยาบาลรายไตรมาส. มหาสารคาม; 2564.

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, กานต์รวี โบราณมูล, มลฤดี แสนจันทร์, วัชราภรณ์ ศรีโสภา. นวัตกรรมทางการพยาบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2018;15(3):159-68.

Soukup, S. M. Evidence-based Practice Model Promoting the Scholarship of Practice. Philadelphia WB Saunders; 2000.

Choudhury A, Singh M, Khurana DK, Mustafi SM, Ganapathy U, Kumar A, et al. Physiological effects of N95 FFP and PPE in healthcare workers in COVID intensive care unit: A prospective cohort study. Indian journal of critical care medicine: peer-reviewed, official publication of Indian Society of Critical Care Medicine. 2020;24(12):1169.

ฉัตรวลัย ใจอารีย์, ลิ้มเจริญ ส. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(4):684-96.

Bergstrom N, Braden BJ, Laguzza A, Holman V. The Braden Scale for Predicting Pressure Sore Risk. Nurse Res.1987 Jul-Aug;36(4):205-10. PMID: 3299278

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17