การพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ตู้เย็นแช่ยา, การบันทึกอุณหภูมิ, แอพพลิเคชันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยา 2. เพื่อทดสอบประสิทธิผลของแอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาและ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยา
รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and development) เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของแอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยา กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 21 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการแสดงผลการบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นยา แบบบันทึกความผิดปกติและการจัดการเกี่ยวกับยาที่เก็บรักษาไว้ในตู้เย็น และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่าแอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง มีความสะดวกต่อการเรียนรู้และการใช้งาน ภายหลังการนำไปใช้ พบว่าอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาได้รับการบันทึกร้อยละ 100 ปัญหาอุณหภูมิไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้รับการแก้ไขภายใน 1 ชั่วโมงร้อยละ 100 ไม่พบปัญหายาที่แช่เสื่อมสภาพ และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมในระดับมาก (Mean = 4.79 ± 0.66)
สรุปผลการศึกษา: แอพพลิเคชันสำหรับบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาช่วยให้การบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นแช่ยาเป็นไปตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ควรนำไปใช้ในหน่วยงานอื่นภายในโรงพยาบาลและประเมินผลการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
References
Ali SA, Ali SA, Suhail N. Importance of storing medicines on required temperature in pharmacies and role of community pharmacies in rural areas: literature review. i-Manager's Journal on Nursing. 2016;6(2):32.
Hatchett R. The medicines refrigerator and the importance of the cold chain in the safe storage of medicines. Nursing Standard (2014). 2017;32(6):53.
Shafaat K, Hussain A, Kumar B, Hasan R, Prabhat P, Yadav V. An overview: storage of pharmaceutical products. World J Pharm Pharm Sci. 2013;2(5):2499-515.
Organization WH. Temperature sensitivity of vaccines. World Health Organization; 2006.
หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปตัวชี้วัด เกณฑ์ และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2564. มหาสารคาม, โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2564.
บรรณกร เสือสิงห์ , วรรณิษา ตั้งจันทร. นวัตกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิตู้เย็นวัคซีน ยุค 4.0. เพชรบูรณ์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าหญ้า; มปป.
สุจิตรา เนียมทรัพย์. การพัฒนาระบบการบันทึกอุณหภูมิพร้อมระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เย็น ผ่านเว็บ แอพพลิเคชั่นและแอพพลิเคชั่น Line Notify ในคลังย่อยห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสุโขทัย. สุโขทัย: โรงพยาบาลสุโขทัย; มปป.
อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, กานต์รวี โบราณมูล, มลฤดี แสนจันทร์, วัชราภรณ์ ศรีโสภา. นวัตกรรมทางการพยาบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2018;15(3):159-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม