การพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชนของโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปารณีย์ มากดี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สุทธิรัตน์ บุษดี โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริการพยาบาล, ผู้ป่วยติดเตียง, แผลกดทับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชน

วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 ผู้ร่วมวิจัย คือผู้ร่วมพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล 60 คน และผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ 32 คน ผู้ดูแล32 คน รวม 124 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับแนวโน้มสูงขึ้น จากการขาดแบบแผนที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วย จึงเกิดการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชนพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีแผลดีขึ้น 27 คน ร้อยละ 84.38 แผลกดทับดีขึ้นเป็นระดับ 2 ร้อยละ 20 และแผลหาย ร้อยละ 80 แผลที่มีความเสี่ยงสูงลดลงเหลือร้อยละ 20.83 ความก้าวหน้าของแผลกดทับมีค่าเฉลี่ยลดลงจากร้อยละ 10.25 เป็นร้อยละ 8.82 และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.15

สรุปผลการศึกษา : การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับในชุมชน ส่งเสริมให้ญาติและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลแผลที่มีความซับซ้อนภายใต้การเสริมพลังชุมชนของภาคีเครือข่าย ที่เรียกว่า“Pressure Ulcers MSKH Model”

References

Mervis JS, Phillips TJ. Pressure ulcers: Pathophysiology, epidemiology, risk factors, and presentation. Journal of the American Academy of Dermatology. 2019 Oct;81(4):881–90

Dorsey, I. E. Evidence based repositioning strategies to improve pressure injury rates. Master's Projects and Capstones [Internet]. 2021. [cited 2020 Aug 30]. Available from: https://repository.usfca.edu/capstone/1287.

Alderden J, Drake KP, Wilson A, Dimas J, Cummins MR, Yap TL. Hospital acquired pressure injury prediction in surgical critical care patients. BMC Med Inform Decis Mak. 2021 Dec;21(1):12.

Akbari Sari A, Doshmanghir L, Neghahban Z, Ghiasipour M, Beheshtizavareh Z. Rate of Pressure Ulcers in Intensive Units and General Wards of Iranian Hospitals and Methods for Their Detection. Iran J Public Health. 2014 Jun;43(6):787–92.

กัลยา ชาญเฉลิมและคณะ. ปัจจัยทำนายและปัจจัยป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม:การศึกษาเชิงวิเคราะหชนิดย้อนหลัง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565;28(1):1-15.

งานยุทธศาสตร์สุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข เอกสารการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2/2565: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

จิณพิชญ์ชา มะมม. ผลของการใช้รูปแบบการดูแลแผลกดทับแบบต่อเนื่องต่อการส่งเสริมการหายของแผลภาวะโภชนาการและอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยสูงอายุ. [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.มาตรฐานการพยาบาลชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2559.

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมหาสารคาม. เอกสารรายงานประจำปีกลุ่มงานการพยาบาล ชุมชนโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2564: งานการพยาบาลที่บ้านและชุมชน; 2564.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007 May;39(2):175–91.

National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP). Announces a change in terminology from pressure ulcer to pressure injury and updates the stages of pressure injury. Wound Care News. Industry News. WoundSource [Internet]. 2016 [cited 2020 Aug 30]. Available from: https://www.woundsource.com/blog/national-pressure-ulcer-advisory-panel-npuap-announces-change-in-terminology-pressure-ulcer.

ผกามาศ พีธรากร. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ : บทบาทพยาบาล. หัวหินเวชสาร. 2564;1(1):33-48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25