ผลของการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตร

ผู้แต่ง

  • สมทรง บุตรตะ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ชุติมา อันเนตร์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • กชพร สิงหะหล้า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอด, ผ่าตัดคลอดบุตร, การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรก่อนและหลังการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง quasi-experimental one group pretest -posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอด ที่นอนพักในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด ระหว่างเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม 2565 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G*Power กำหนดขนาดอิทธิพล = 0.5 α =0.05 Power = 0.80 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาท์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและเครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บริสทอล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Friedman test และทดสอบรายคู่โดยใช้ Wilcoxon signed-rank test

ผลการศึกษา : ค่ามัธยฐานคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรก่อนการสอนและหลังการสอนระยะ 48 ชั่วโมงและ 72 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย (p< .001) เมื่อทดสอบรายคู่ พบว่า ค่ามัธยฐานคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการสอนระยะ 48 ชั่วโมงสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ค่ามัธยฐานคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการสอนระยะ 72 ชั่วโมง สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ค่ามัธยฐานคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการสอนระยะ 72 ชั่วโมงสูงกว่าหลังการสอนระยะ 48 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)

สรุปผลการศึกษา : การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสอนแบบตัวต่อตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมกาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือโรคอื่นๆ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนได้

References

Rollins, N.C., Bhandari, N., Hajeebhoy, N., Horton, S., Lutter, C.K., Martines, J.C., Piwoz, E.G., Richter, L.M., Victora, C.G.. Why invest, and what it will take to improve breastfeeding practices?. Lancet. 2016;387(10017):491–504.

กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด;2566.

Thepha, T., Marais, D., Bell, J., &Muangpin, S. Facilitators and barriers to exclusive breastfeeding in Thailand: A narrative review. Journal of Community and Public Health Nursing. 2017;3(1).1-9.

Dellen, S.A., Wisse, B., Mobach, M.P., Dijkstra, A. The effect of a breastfeeding support programme on breastfeeding duration and exclusivity: a quasi-experiment. BMC Public Health. 2019;19(993):1-12.

Kim, S.K., Park, S., Oh, J., Kim, J.,& Ahn, S. Interventions promoting exclusive breastfeeding up to six months after birth: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. International. Journal of Nursing Studies. 2018;80:94-105.

Al-Radaydah, D.S., Badrin, S., Badrin, S., Ismail, T.A. The Effectiveness of a Guided Education Program on the Skill and Attitude to Breastfeeding among First-Time Mothers in Jordan. J Med J. 2022;56(2):147-158.

Lojander J, Mäkelä H, Niela-Vilén H. Maternal perceptions and experiences of breastfeeding support in Baby-Friendly hospitals: An integrative review. International Journal of Nursing Studies Advances. 2022 Dec;4:100105.

ณิชาภา พลสิงห์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม และทัศนี ประสบกิตติคุณ. การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจากพยาบาล:การรับรู้ของมารดาหลังคลอดและของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์.2016;34(4):26-34.

House, J. S. Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley; 1981.

Singhala, K., Mills, AC., Wong-Anuchit, C. Bristol Breastfeeding Assessment Tool-Thai version: Translation, Validity, and Reliability. Journal of Human Lactation. 2022;38(2):227-235.

Gallagher, S., & Petrou, T.. Breastfeeding protocol: Positioning and latching. Ontario, Canada: Toronto Public Health and Baby-Friendly Initiative Strategy for Ontario; 2019

พัชนียาเชียงตา, ฉวี เบาทรวง และกรรณิการ์ กันธะรักษา. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาครรภ์แรก. พยาบาลสาร. 2557; 41(3):1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-17