การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางคลินิก ของนิสิตพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บัวที คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิตยา สุทธยากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุรินทร์ พงษ์ประเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, ผลการเรียนรู้ทางคลินิก, นิสิตพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกของนิสิตพยาบาล การดำเนินงานแบ่งเป็นพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิก

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 78 คน โดยมีเครื่องมือวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) แบบประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกด้านการดูแลด้วยความเอื้ออาทร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย การใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเสมือนจริงในหอผู้ป่วยจำลอง การสอนสุขศึกษา การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาลการประชุมทางการพยาบาล การประชุมก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การฝึกปฏิบัติแบบเผชิญหน้าทางออนไลน์ และการฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย การประเมินผลการเรียนรู้ทางคลินิกด้านการดูแลด้วยความเอื้ออาทร พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลด้วยความเอื้ออาทรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.46, SD = 1.39) ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ด้วยความเข้าอกเข้าใจ (M=4.53, SD = 1.35) ด้านที่ 2 การแก้ปัญหา (M=4.56, SD =1.26) และด้านที่ 3 การดูแลด้วยความเข้าอกเข้าใจ (M=4.79,SD = 1.25)

สรุปผลการศึกษา : การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลผู้รับบริการด้วยความเอื้ออาทร ช่วยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถในการดูแลด้วยความเข้าอกเข้าใจ และมีทักษะในการแก้ปัญหา ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นวิธีการหนึ่งในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. วิถีชีวิตใหม่ NEW Nomal [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 1]. เข้าถึงได้จากhttps://www.mhesi.go.th/.

รุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย. มาตรการการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: สถานที่ทำงานต้านโควิด 19 ในฐานวิถีชีวิตใหม่: new normal. [ม.ป.ท.]: กรมควบคุมโรค. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม; 2563.

สภาการพยาบาล. ราชกิจจานุเบกษา ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2566 สิงหาคม 13]. เข้าถึงได้จาก จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/normal2563(1).PD

กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2566 สิงหาคม 13]. เข้าถึงได้จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Edit(1).PDF

สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง สมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตร ฝึกอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2566 สิงหาคม 13]. เข้าถึงได้จากhttps://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf

Loke, J. C., Lee, K. W., Lee, B. K., & Noor, A. M. Caring behaviours of student nurses: Effects of pre-registration nursing education. Nurse education in practice 2015; 15(6): 421-429.

Siemens G, (ed.), Gasevic D, (ed.), Dawson S, (ed.). Preparing for the digital university: a review of the history and current state of distance, blended, and online learning. MOOC Research Initiative, 2015.

Leidl, D. M., Ritchie, L., & Moslemi, N. Blended learning in undergraduate nursing education–A scoping review. Nurse Education Today. 2020; 86:104318.

พีระนันท์ จีระยิ่งมงคล, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, พลอยประกาย ฉลาดล้น, และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ภายใต้สถานการณ์ COVID 19. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2565;15(3):71-81.

Kear TM. Transformative learning during nursing education: A model of interconnectivity. Nurse education today. 2013 Sep 1;33(9):1083-7.

Taylor EW, Cranton P. A content analysis of transformative learning theory.

Leong CS, Clutter LB. Active learning improves nursing student clinical performance in an academic institution in Macao. Chinese Nursing Research. 2015 Jun 1;2(2-3):35-9.

Jang HJ, Hong SY. Effect of blended learning in nursing education. International Journal of Multimedia and Ubiquitous Engineering. 2016 May;11(5):297-304.

Maddison T, Kumaran M, editors. Distributed learning: pedagogy and technology in online information literacy instruction. Chandos Publishing; 2016 Oct 12.

ปิตินัช ราชภักดี, พจมาน ชำนาญกิจ, และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวความคิดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน การคิดแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล สำหรับนักศึกษา พยาบาลศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 2566;2(7):460-478.

McAllister M. STAR: A transformative learning framework for nurse educators. Journal of Transformative Education. 2011 Jan;9(1):42-58.

Watson J. Human caring science. Jones & Bartlett Publishers; 2012.

Mezirow J. Transformative learning: Theory to practice. New directions for adult and continuing education. 1997 Jun;1997(74):5-12.

Greenland, S., Saleem, M., Misra, R., & Mason, J. Sustainable management education and an empirical five-pillar model of sustainability. The International Journal of Management Education 2002;20(3),100658.

Tsimane TA, Downing C. Transformative learning in nursing education: A concept analysis. International journal of nursing sciences. 2020 Jan 10;7(1):91-8.

Salehian M, Heydari A, Aghebati N, Moonaghi HK. Faculty-student caring interaction in nursing education: An integrative review. Journal of caring sciences. 2017 Sep;6(3):257.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25