การพัฒนาระบบการป้องกันการติดเชื้อในหอผู้ป่วยโควิด Cohort ward ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โรงพยาบาลปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การป้องกันการติดเชื้อ, โรคโควิด-19 , แนวทางปฏิบัติบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหอผู้ป่วยโควิด-19 Cohort ward ต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคโควิด-19และระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive research) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยที่ตึกผู้ป่วยนอก 2) การให้การรักษาทางการพยาบาลในหอผู้ป่วย Cohort ward
3) การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านและการดูแลต่อเนื่อง และ 4) การกำกับทบทวนกิจกรรมทางการพยาบาลการป้องกันการติดเชื้อในการทำหัตถการสำหรับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ สถิติที่ใช้ในการศึกษาเป็นสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ผลการศึกษา : กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 จำนวน 350 รายเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและ คปสอ.ปะคำผู้ปฏิบัติงานการป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 72 ราย พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับบริการรักษาในหอผู้ป่วย Cohort ward มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ยอยู่ในระดับเข้าใจและปฏิบัติได้ ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วย Cohort ward เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อแนวปฏิบัติป้องกันการติดเชื้อเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง
สรุปผลการศึกษา : จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในหอผู้ป่วย Cohort ward นั้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สามารถนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานและสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
References
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวัคซีนสู้โควิดฉบับ ประชาชน. [อินเทอร์เนต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก htpp://mahidol.ac.th/documents/vaccin e-covid19.pdf.
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19. สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเทอร์เนต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.moicovid.com/
World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems : A handbook of indicators and their measurement strategies. [internet]. 2010. [cited 2022 May 31]. Available form: https://www.who.int/ healthinfo /systems/
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติด เชื้อในโรงพยาบาล กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. [อินเทอร์เนต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th.
วีรนุช ไตรรัตโนภาส, ฐิติมา หมอทรัพย์ และสมพร ประพฤติกฤติ .แนวทางการปฏิบัติการ พยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2564;27 (4):132-144.
พวงรัตน์ มณีรัตน์ . วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ .พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2540.
ศรินรา ทองมี และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสาร พยาบาล. 2565;71(3):18-26.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. [Internet]. 2020 [cited 2020 June 30]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_ 4.pdf.
กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรม สาร จำกัด; 2555.
อลิสา รัฐวงษาและอาคม รัฐวงษา .การพัฒนาระบบดูแลตอเนื่องผูปวยโรคโควิด- 19. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2566;7(13): 68-81.
ไพฑูรย์ ชมจันทร์.การศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลท่าช้าง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(1):14-26.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก และคณะ.การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของโรคโควิด 19 ที่บ้านและในชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว .2566;6(2):104-121.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม