ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, อาการทรุดลงทางคลินิก, ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอายุรกรรม 2. เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพเป็นกรอบแนวคิดประกอบด้วย 4 ระยะ ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนมิถุนายน 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รับการรักษา ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 89 ราย ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 45 ราย และกลุ่มควบคุม 44 ราย และพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 21 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม 2) แบบบันทึกและเฝ้าระวังอาการทรุดลงทางคลินิก 3) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ได้ในบริบทหน้างานจริง ไม่ยุ่งยาก ภายหลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่าในกลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (RR 0.19, 95% CI = 0.05, 0.73, p=0.009) ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและการเสียชีวิตในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติได้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90% และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง
สรุปผลการศึกษา : แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้จริง ควรนำไปศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
References
Zador Z, Landry A, Cusimano MD, Geifman N. Multimorbidity states associated with higher mortality rates in organ dysfunction and sepsis: a data-driven analysis in critical care. Critical Care. 2019;23(1):1-11.
Zador Z, Landry A, Cusimano MD, Geifman N. Multimorbidity states with high sepsis-related deaths: a data-driven analysis in critical care. bioRxiv. 2018;(2) :491712.
Gotts JE, Matthay MA. Sepsis: pathophysiology and clinical management. Bmj. 2016;(3):353.
Jarczak D, Kluge S, Nierhaus A. Sepsis—pathophysiology and therapeutic concepts. Frontiers in medicine. 2021;(8):609.
Kim W-Y, Hong S-B. Sepsis and acute respiratory distress syndrome: recent update. Tuberculosis and respiratory diseases. 2016;79(2):53-57.
Cecconi M, Evans L, Levy M, Rhodes A. Sepsis and septic shock. The Lancet. 2018;392(10141):75-87.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปผลการดำเนินงานและตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. มหาสารคาม; 2565.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2566.
ปัญญา เถื่อนด้วง, นาตยา คำสว่าง. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. พุทธชินราชเวชสาร. 2562;36(2):180-96.
สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, วิมลทิพย์ พวงเข้ม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563;30(1):120-132.
ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร. 2562;11(1):1-8.
SM S. Evidence-based Practice Model Promoting the Scholarship of Practice. Philadelphia WB Saunders; 2000.
สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2561;26(1):35-46.
Vincent J-L. The clinical challenge of sepsis identification and monitoring. PLoS medicine. 2016;13(5):1-10.
Peterson L-KN, Chase K. Pitfalls in the treatment of sepsis. Emergency Medicine Clinics. 2017;35(1):185-198.
Pokorski S, Moraes MA, Chiarelli R, Costanzi AP, Rabelo ER. Nursing process: from literature to practice. What are we actually doing? Revista Latino-Americana de Enfermagem. 2009;(17):302-307.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม