การพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพ (Trauma Audit)

ผู้แต่ง

  • วิไลกูล ครองยุทธ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • กนกวรรณ เจริญศิริ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • จุลินทร ศรีโพนทัน โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พัฒนาคุณภาพการให้บริการ, ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, การพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพ , ค่าโอกาสการรอดชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุเสียชีวิตและเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุให้ดีขึ้น ลดความพิการและเสียชีวิต

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กรอบแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ด (Kemmis and McTaggart) ด้วยวงจรการวิจัยแบบพีเอโออาร์ สหวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ 60 คน ผู้ป่วยอุบัติเหตุเสียชีวิตที่มีค่าโอกาสการรอดชีวิต (Ps score) > 0.5 จำนวน 61 ราย ใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพ (Trauma Audit) ค้นหาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สร้างข้อตกลง แนวทางปฏิบัติของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล นำไปใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลหลังจากมีการนำไปใช้ วิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ขยายใช้ในเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด

ผลการศึกษา : การพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรูปแบบสหวิชาชีพมาพัฒนาระบบโดยมีการสร้างแนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุให้ครอบคลุมปัญหาพบการเกิดประเด็นปัญหาข้อผิดพลาดลดลงจากก่อนการพัฒนา การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลปัญหาด้านระบบลดลงร้อยละ 11 ในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน พบการรักษาผิดพลาดลดลงมากที่สุด ร้อยละ 16 รองลงมาคือ ด้านระบบที่เกี่ยวข้อง ลดลงร้อยละ 13 ตามมาด้วย วินิจฉัยล่าช้าและขั้นตอนผิดพลาด ลดลงร้อยละ 10, 7 ตามลำดับ ผู้ป่วยในพบ การรักษาผิดพลาดลดลงมากที่สุด ลดลงร้อยละ 14  รองลงมาคือการวินิจฉัยล่าช้าและด้านระบบที่เกี่ยวข้อง ลดลงร้อยละ 9, 8 ตามลำดับ การเสียชีวิตที่ป้องกันได้ อาจจะป้องกันได้ ไม่สามารถป้องกันได้ ความรุนแรงของความพิการ ลดลงร้อยละ 6, 5, 2, 2 ตามลำดับ ผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 80

สรุปผลการศึกษา : รูปแบบนี้ช่วยให้ค้นพบข้อผิดพลาดในกระบวนการให้บริการทั้งระบบ เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุ แนวทางปฏิบัติของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แนวทางเวชปฏิบัติ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ป่วยและบุคลากร

References

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติอุบัติเหตุประจำปี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.thairsc.com/data-compare

ศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดมหาสารคาม. รายงานข้อมูลบาดเจ็บเสียชีวิตปี 2563-2565. มหาสารคาม: สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงาน service plan สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2563-2565. มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

วันทนา ไพศาลพันธ์ .รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บทางถนนอำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2563;5(1):109-110

Kemmis s., Mctaggart R. The Action Research Planer 3 rd ed. Victoria: Deakin University; 1988:15

Boyd CR, Tolson MA, Copes WS. Evaluating trauma care: the TRISS method. J Trauma. 1987;27(4):370-8.

วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ. การพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบบริการ.โรงพยาบาลขอนแก่น:ขอนแก่นการพิมพ์;2543.

วิทยา ชาติบัญชาชัย. การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ. [อินเทอร์เน็ต] 2541. [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565] สืบค้นได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1543?show=full

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ .ผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต่อผลการรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรง ของเครือข่ายจังหวัดปราจีนบุรี. บูรพาเวชสาร. 2561;5(1):28-35

อุมาด แอเก็มและคณะ. การบริหารจัดการระบบการดูแลผู้บาดเจ็บวิกฤตในเครือข่ายจังหวัดยะลา.มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2560;1(1):96-97

Celso B, Tepas J, Langland-Orban B, Pracht E, Papa L, et al. A systematic review and meta-analysis comparing outcome of severely injured patients treated in trauma centers following the establishment of trauma systems. J Trauma. 2006; 60(2):371-8.

วินัย อึงพาณิชย์พงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2546;18(1):30-35

ชัญญาภัค วิจารณ์. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยจากอุบัติเหตุทางถนน ณ จุดเกิดเหตุ โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. 2565;7(4):221-223.

จิราวรรณ นาคะปักษิณ. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต.วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2566;10(1):123-124

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25