การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
คนพิการ, การดูแลทางสังคม, บริการสุขภาพปฐมภูมิบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบทของการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ นำมาพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการและเพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาวิจัย เมษายน 2565 - มกราคม 2566 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คนพิการด้านการเคลื่อนไหว คนพิการด้านจิตใจและพฤติกรรม 100 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ตัวแทนภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
ผลการศึกษา : ปัญหาในการดูแลคนพิการ คือ คนพิการเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ที่ต้องดูแลใกล้ชิด ว่างงานไม่มีรายได้ ขาดการประสานงานระหว่างภาคีเครือข่าย และ การบันทึกข้อมูลคนพิการและการให้บริการยังใช้การจดในแบบฟอร์มเป็นกระดาษ การประสานการช่วยเหลือยังไม่ครอบคลุมครบถ้วน การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ ประชุมภาคีเครือข่ายนำรูปแบบการสื่อสารแบบออนไลน์ระบบทางไกลมาใช้เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลและให้บริการคนพิการร่วมกันของภาคีเครือข่าย มีการคืนข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปออกแบบกิจกรรมจนได้รูปแบบการดูแลคนพิการตามบริบทของชุมชนและหน่วยงาน ผลของการพัฒนารูปแบบดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการ พบว่า ร้อยละคนพิการได้รับการดูแลทางสังคมผ่านช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ระบบทางไกล ร้อยละ 100 มีจำนวนเครือข่ายที่ร่วมดูแลคนพิการทางสังคม 5 เครือข่าย และคนพิการได้รับการดูแลทางสังคมอย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง ร้อยละ 100
สรุปผลการศึกษา : การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมกลุ่มคนพิการเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยภาคีเครือข่ายได้ใช้ข้อมูลวางแผนในการให้บริการ ทำให้คนพิการได้รับการดูแลแบบองค์รวม ครบถ้วน
References
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. อาชีพยุคดิจิทัล ความท้าทาย โอกาสและทางเลือกสำหรับคนพิการ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.depa.or.th/th/article-view/handicapped-person-job-in-digital-age
Unicef Thailand. การแถลงผลการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/th
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมหาสารคาม. ข้อมูลสถานการณ์คนพิการจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: ศูนย์บริการคนพิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่น; 2565.
สำนักงานสาธารณสุขอำเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สรุปผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าตูม ปี 65. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าตูม: มหาสารคาม; 2565.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่าย การดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิปี 2565. กรุงเทพฯ: คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565.
Kemmis, S., McTaggart, R .The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: DeakinUniversity; 1988.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานกลาง ประเมินความสามารถตามประเภทความพิการและให้รหัส ICF ฉบับปี 2012. [อินเทอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึง เมื่อ 16 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://thcc.or.th/ICF/BOOK_ICF.pdf.
สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. เครื่องมือปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://swpc.or.th/public_content/files/001/0006656_1.pdf
กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง. สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม :การปลดล็อกความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน. ใน: ภุชงค์ เสนานุช, บรรณาธิการ. หนังสือรวบรวมบทความเนื่องในวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: กรุงเทพฯ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.
สุจิตรา อดุลย์เกษม, พัชรีพร สุนทรรัตน์, พลอยไพลิน ใจมา, อรวรรณ เชาวลิต. การออกแบบต้นแบบ ส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกส์สำหรับการบันทึกเวชระเบียนอิเลกทรอนิกส์. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 3(2): 1-17.
สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย และชมรมนักสงเคราะห์ทางการแพทย์สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์: พิมพ์ครั้งที่ 1. ลำปาง: ลำปางกิจเจริญการพิมพ์; 2565.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. ถอดรหัส พชอ กับ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://r 8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20191225110034.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม