ความชุกและรูปแบบของฟันฝัง ฟันที่ไม่ขึ้นและฟันเกิน บริเวณฟันหน้าและฟันกรามน้อยในผู้ป่วย อายุ 15-25 ปี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประพัทธ์ สุระะรรม โรงพยาบาลบรบือ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก รูปแบบรวมถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลของการเกิดฟันฝัง ฟันที่ยังไม่ขึ้น และฟันเกิน บริเวณฟันหน้าและฟันกรามน้อยในผู้ป่วยอายุ 15-25 ปี ที่มารับการรักษาทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลบรบือ

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง  (retrospective cohort study) จากเวชระเบียนและภาพถ่ายรังสีพานอรามิก (Panoramic) ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลบรบือ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 397 ราย ทำการเก็บบันทึกข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและแปลผลจากภาพรังสีชนิดพานอรามิกหาความชุกของฟันและรูปแบบที่ขึ้นผิดปกติ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิตอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก logistic regression นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Odd Ratio(OR) และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95%CI)

ผลการศึกษา : กลุ่มประชากรที่ศึกษา จำนวน 397 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.54 อายุเฉลี่ย 19.21±2.83 ปี จากการประเมินภาพถ่ายรังสีพานอรามิก พบความชุกของฟันที่ผิดปกติ ร้อยละ 5.79 จำแนกเป็นฟันฝัง ร้อยละ 39.13 ฟันที่ไม่ขึ้น ร้อยละ 26.09 ฟันเกิน ร้อยละ 30.43 และฟันฝังร่วมกับฟันเกิน ร้อยละ 4.35 สำหรับรูปแบบการวางตัวฟัน พบว่า ฟันฝังส่วนใหญ่มีการวางตัวในแนวขวางมากที่สุด ร้อยละ 50.00 ในขณะที่ฟันที่ไม่ขึ้นและฟันเกินพบว่ามีการวางตัวแบบปกติที่ร้อยละ 71.43 และ 64.29 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า รูปร่างของฟันเกินส่วนใหญ่มีแบบรูปร่างเหมือนฟันปกติ ร้อยละ 78.57  โดยเพศชายมีโอกาสเกิดฟันที่ขึ้นผิดปกติมากกว่าเพศหญิง เท่ากับ 3.12 เท่า ( 95%CI=1.33 - 7.29, p-value 0.010) 

สรุปผลการศึกษา : การเฝ้าระวังการเกิดฟันขึ้นผิดปกติของผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาและผลกระทบของสุขภาพช่องปากที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Aires Vilarinho M S de LA. Palatally impacted canine: diagnosis and treatment options. Braz J Oral Sci. 2010;9(2):70–6.

Kriangkrai R. Basic knowledge of supernumerary teeth. Naresuan University journal. 2012;20(3):111–126.

Baccetti T. Risk indicators and interceptive treatment alternatives for palatally displaced canines. Semin Orthod. 2010;16(3):186–192.

Marisela M. A review of the diagnosis and management of impacted maxillary canines. J Am Dent Assoc. 2009;140(12):1485–93.

Bishara SE. Clinical management of impacted maxillary canines. Br J Orthod. 1998;4(2):87–98.

Oliver RG., Mannion JE. & Robinson JM. Morphology of the maxillary lateral incisor in cases of unilateral impaction of the maxillary canine. Br J Orthod. 1989;16:9–16.

Natsume, A., Koyasu, K., Hanamura, H., Nakagaki, H. & Oda, S. Variations in number of teeth in wild Japanese serow (Naemorhedus crispus). Archive of Oral Biology. 2005;50(10):849‐860.

Peterkova, R., Peterka, M. & Lesot, H. The developing mouse dentition: a new tool for apoptosis study. Annal of the New York Academy of Sciences. 2003;10(10):453–6.

Jarvinen, E., Tummer, M. & Thesleff. I. The role of the dental lamina in mammalian tooth replacement. Journal of Experimental ZoologyPart B: Molecular and Developmental Evoluation. 2009;312B(4):281–91.

Half, E., Bercovich, D. & Rozen, P. Familial adenomatous polyposis. Orphanet. Journal of rare Disease. 2009;4:22.

Mortellaro, C., Greco Lucciana, A. & Prota, E. Differing therapeutic approaches to cleidocranial dysplasia (CCD). Minerva Stomatologica. 2010;61(4):155‐163.

Dachi SF, Howell FV. A survey of 3,784 routine full mouth radiographs. Oral Surg Oral Med Oral Pathol. 1961;14(116):5–9.

Kramer RM, Williams AC. The incidence of impacted teeth. A survey at Harlem hospital. Oral Surg Oral Med Oral Pathol. 1970;29:237–41.

Peck S, Peck L. & Kataja M .The palatally displaced canine as a dental anomaly of genetic origin. Angle Orthod. 1994;64:249–56.

Zahrani AA. Impacted cuspid in a Saudi population: prevalence, etiology and complications. 1993;39:367-374.

Sakulratchata, R., Wongma, S., Saenmood, S., Rianpingwang, T., & Chiohanangkun, S. Prevalence and characteristics of dental anomalies in pediatric patients at a dental hospital in Thailand. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST). 2020;29(2):73–83.

Garvey MT, Barry HJ. & Blake M. Supernumerary teeth-an overview of classification, diagnosis and management. J Can Dent Assoc. 1999;65:612–22.

Chen, Y. H., Cheng, N. C., Wang, Y. B. & Yang, C. Y. Prevalence of congenital dental anomalies in the primary dentition in Taiwan. Pediatric Dentistry. 2010;32(7):525–9.

Rajab LB, Hamdan MAM. Supernumerary teeth: review of the literature and a survey of 152 cases. Int J Pediatric Dent. 2002;12(2):44–54.

Brook AH. Dental anomalies of number, form and size: their prevalence in British schoolchildren. J Int Assoc Dent Child. 1974;5:37–53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27