อัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมินในการพยากรณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ ในโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • คัคนางค์ วะรงค์ โรงพยาบาลวารินชำราบ

คำสำคัญ:

อัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมิน, การเสียชีวิต, ปัจจัยเสี่ยง, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาค่าจุดตัดที่เหมาะสมของอัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมินในการพยากรณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ ในโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง Retrospective cohort study ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565-31 ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง 236 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน หาค่าจุดตัดที่เหมาะสม โดยใช้ Diagnostic test และหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตด้วย Logistic regression

ผลการศึกษา ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวารินชำราบ จำนวน 236 ราย มีอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วัน ร้อยละ 37.3 มีอายุเฉลี่ย 63.5±17.8 ปี จุดตัดที่เหมาะสมที่สามารถทำนายการเสียชีวิต 30 วัน ของค่าแลคเตทและอัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมิน เท่ากับ 4.3 และ 1.8 ตามลำดับ ซึ่งมีความไว (Sensitivity) ร้อยละ 87.1 และ 94.1 ความจำเพาะ (Specificity) ร้อยละ 73.5 และ 83.4 พื้นที่ใต้ส่วนโค้ง (AUROC) เท่ากับ 0.85 และ 0.92 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ (รายตัวแปร) พบว่า อัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมินที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต 1.6 เท่า (OR=1.6, 95%CI 1.4-1.8) และเมื่อวิเคราะห์โดยวิธีพหุนาม (หลายตัวแปร) พบว่า อัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมินที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต 3.8 เท่า (Adj. OR=3.8, 95%CI 2.3-6.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา : ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหรือผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อ มีอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วันร้อยละ 37.3 จุดตัดที่เหมาะสมของค่าอัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมิน เท่ากับ 1.8 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนแลคเตทต่ออัลบูมินสามารถทำนายการเสียชีวิตได้แม่นยำกว่าค่าแลคเตท

References

ธิติสุดา ชื่นใจ. การจัดการเพื่อได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน: การวิเคราะห์สถานการณ์. [มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock: 2016. Intensive Care Med. 2017;43(3):304-377. doi:10.1007/s00134-017-4683-6

Mikkelsen ME, Shah CV, Meyer NJ, Gaieski DF, Lyon S, Miltiades AN, Goyal M, Fuchs BD, Bellamy SL, Christie JD. The epidemiology of acute respiratory distress syndrome in patients presenting to the emergency department with severe sepsis. Shock. 2013 Nov 1;40(5):375-81.

Dellinger RP, Schorr CA, Levy MM. A users' guide to the 2016 Surviving Sepsis Guidelines. Intensive Care Med. 2017;43(3):299-303. doi:10.1007/s00134-017-4681-8Gül F, Arslantaş MK, Cinel İ, Kumar A. Changing Definitions of Sepsis. Turk J Anaesthesiol Reanim. 2017;45(3):129-138. doi:10.5152/TJAR.2017.93753

ธนา ขอเจริญพร, ศศินุช รุจนเวช, และอนุชา อภิสาร ธนรักษ์. ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. ปทุมธานี: กรุงเทพเวชสาร; 2554.

จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล, พรทิพย์ จอกกระจาย. การประเมินและการจัดการภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. ใน: งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2561. น. 599–609.

อุไรวรรณ วิลัยรัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา. [มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Jansen TC, van Bommel J, Schoonderbeek FJ, Visser SJ, van der Klooster JM, Lima AP, et al. Early lactate-guided therapy in intensive care unit patients: a multicenter, open-label, randomized controlled trial. Am J Respir Crit Care Med. 2010;182(6):752-761.

Mikkelsen ME, Miltiades AN, Gaieski DF, Goyal M, Fuchs BD, Shah CV, et al. Serum lactate is associated with mortality in severe sepsis independent of organ failure and shock. Crit Care Med. 2009;37(5):1670-1677.

Gatta A, Verardo A, Bolognesi M. Hypoalbuminemia. Intern Emerg Med. 2012;7 Suppl 3:S193-9.

Bou Chebl R, Geha M, Assaf M, et al. The prognostic value of the lactate/albumin ratio for predicting mortality in septic patients presenting to the emergency department: a prospective study. Ann Med. 2021;53(1):2268-2277.

Bou Chebl R, Jamali S, Sabra M, Safa R, Berbari I, Shami A, Makki M, Tamim H, Abou Dagher G. Lactate/Albumin Ratio as a Predictor of In-Hospital Mortality in Septic Patients Presenting to the Emergency Department. Front Med (Lausanne). 2020 Sep 22;7:550182.

Lichtenauer M, Wernly B, Ohnewein B, Franz M, Kabisch B, Muessig J, Masyuk M, Lauten A, Schulze PC, Hoppe UC, Kelm M. The lactate/albumin ratio: a valuable tool for risk stratification in septic patients admitted to ICU. International journal of molecular sciences. 2017 Sep 2;18(9):1893.

Shadvar K, Nader-Djalal N, Vahed N, et al. Comparison of lactate/albumin ratio to lactate and lactate clearance for predicting outcomes in patients with septic shock admitted to intensive care unit: an observational study. Sci Rep. 2022;12(1):13047.

Shin J, Hwang SY, Jo IJ, et al. Prognostic Value of The Lactate/Albumin Ratio for Predicting 28-Day Mortality in Critically ILL Sepsis Patients. Shock. 2018;50(5):545-550.

วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์. การใช้ค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมินในการคาดคะเนอัตราการตายในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารแพทย์เขต 4-5 มิถุนายน 2020; 39(2): น. 252.

Kabra R, Acharya S, Shukla S, Kumar S, Wanjari A, Mahajan S, et al. Serum Lactate-Albumin Ratio: Soothsayer for Outcome in Sepsis. Cureus [Internet]. 2023 Mar [cited 2024 Jun 19];15(3). Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10146386/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27