ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ลมัย นิรมิตถวิล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง
  • เอกกวี หอมขจร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัญสุรีย์ ศิริโสภณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุวพิชญ์ ชัชวาลธีราพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล, การรับรู้สุขภาพ, ระบบบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 159 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.90 (SD=0.30) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้สุขภาพ (β=0.390, P<0.01) ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ (β=0.306 , P<0.01)

สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้สุขภาพ ปัจจัยระบบบริการสุขภาพ ดังนั้นพยาบาลและบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ควรนำปัจจัยดังกล่าวมาพัฒนาโปรแกรมสร้างการรับรู้สุขภาพ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุ

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 2567. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dmthai.org/new/index.php/sara- khwam-

National Diabetes Statistics Report 2024. Prevalence in the elderly population type 2 diabetes mellitus 2024. [Internet]. [cited 2024 Aug 20]. Available from https://repository.gheli.harvard.edu/repository/11854/

Health Data Center. Health statistics of Thai people 2022. [Internet]. 2022 [cited 2024 Jul 10]. Available from https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?.

Shoji T, Kogure K, Toda N, Hakoshima M, Katsuyama H, Yanai H, et al. Association between comorbidities associated with diabetes and higher-level functional status in older patients with type 2 diabetes mellitus: across sectional study. European Geriatric Medicine. 2024;(10):1-10.

ธานี นามม่วง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566;9(1):170-180.

อัญชิสา ช่วยมี, นันทยา เสนีย์. ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการควบคุมระดับนำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง. วารสารอนามัยสิ่งแว้ดล้อม. 2566;8(2): 297-305.

Becker M. H. The health belief model and sick role behavior. In M. H. Becker (Ed.), The health belief model and personal health behavior; 1974

สิทธิธนา โตอ่อน, ศิริเนตร สุขดี. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คุมไม่ได้ โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2566;32(2):111-121.

อธิพงษ์ สุขเพ็ญ, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการ ควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น.2567;5(2): 185-198.

Barr et al. The expanded Chronic Care Model an Integration of Concepts and Strategies from Population Health Promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterly. 7, 73–82; 2003.

นุจิฬาภรณ์ ศิริไมย, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(3):57-70.

วิภาดา อาสนะ. การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารชัยภูมิเวชสาร. 2566;43(2):96-106

International Diabetes Federation. Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023. [Internet] 2023 [cited 2024 Aug 10]. Available from https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view.

Health Data Center. Health statistics of Thai people [Internet]. [cited 2024 Jul 10]. Available from https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?.

Health Data Center. The percentage of acute complications in diabetic patients. [Internet] 2024 [cited 2024 Aug 1]. Available from https://hdc.moph.go.th/center/public/standard-report-detail.

Daniel W. W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons; 1995

Ratsiri Thato. Nursing Research : Concepts To Application. 4th Bangkok : Chulalongkron University Press; 2018

Pender N. J. Health Promotion in nursing practice (2 nd ed). Connecticut: Appleton & Lange; 1987

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.2564;2(2):1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

นิรมิตถวิล ล. ., หอมขจร เ. ., ศิริโสภณ อ., ชัชวาลธีราพงศ์ ส. ., & นวะมะวัฒน์ จ. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 21(3), 52–63. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/270917