Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • ผลงานชิ้นนี้ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหรือไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวารสารอื่นๆ
  • ผลงานที่ส่งมาอยู่ในรูปแบบ Microsoft Word
  • มี URL ที่เข้าถึงได้ในส่วนการอ้างอิงบรรณานุกรม
  • ผลงานนี้ได้จัดทำตามรูปแบบการส่งผลงานที่วารสารกำหนด ทุกประการ
  • ระบุหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงาน
  • แนบไฟล์ใบผ่านจริยธรรมการวิจัย Ethic

Author Guidelines

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ (ดาวน์โหลด Template บทความ)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ ผู้ประสงค์จะส่งต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารควรเตรียมต้นฉบับตามคำแนะนำทั้งนี้เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการลงพิมพ์ ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ สำหรับผู้นิพนธ์ วารสารโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นวารสารด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่ผลงาน วิชาการทางการแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และผู้ประสงค์จะส่งต้นฉบับเพื่อตี พิมพ์ในวารสารควรเตรียมต้นฉบับตามคำแนะนำทั้งนี้เพื่อความ สะดวกและรวดเร็วในการลงพิมพ์ ประเภทบทความที่สามารถลงตีพิมพ์ได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) ได้แก่ บทความที่เสนอผลงานใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยที่ยังไม่เคย ตีพิมพ์ในวารสาร หรือหนังสืออื่นๆควรเขียนตามลำดับ ได้แก่ ชื่อเรื่องบทคัดย่อ บทนำสั้นๆ(เหตุผลที่ทำการ ศึกษานี้รวมทั้งวัตถุประสงค์) รูปแบบ หรือวิธีการ ผลการศึกษา วิจารณ์สรุป กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง โดยเขียนในรูปแบบแวนคูเวอร์ ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 2,500 คำ โดยประมาณ รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ เช่น การบาดเจ็บ, ความผิดปกติหรือโรคที่ พบได้ยาก และที่น่าศึกษา ใช้วิธีการนวัตกรรม หรือเครื่องมือใหม่ ในการรักษาผู้ป่วย ควรเขียนตามลำดับ ได้แก่ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ (เหตุผลที่ทำการศึกษานี้รวมทั้งวัตถุประสงค์)รายงานผู้ป่วย(รวมถึงวัสดุและ วิธีการศึกษา) วิจารณ์สรุปอภิปรายผล และเอกสาร อ้างอิง บทความพิเศษ (special article) เป็นบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาลการสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจมีลักษณะเป็นบทวิเคราะห์วิจารณ์หรือ บทความทางด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องและเห็นว่าเป็นประโยชน์ บทความวิชาการ(review article) ได้แก่ บทความที่ได้จากการรวบรวมนำเอาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ ในวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์นำมาเรียบเรียงและ วิเคราะห์วิจารณ์หรือ เปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความลึกซึ้งหรือเกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น ปกิณกะ(miscellany) เป็นบทความหรือสาระความรู้ได้แก่ บทความอื่นๆ หรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับ ด้านการแพทย์ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์นวัตกรรม,สิ่งประดิษฐ์, หรือบทความที่ส่งเสริม ความเข้าใจอันดีต่อผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับควรพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Word for Windows โดยใช้ กระดาษพิมพ์ขนาด A 4 พิมพ์หน้าเดียวด้วยอักษร Angsana New ขนาด 16 เว้นบรรทัดใช้ระยะ single space ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้วด้านล่าง1 นิ้วขอบ ซ้าย1.5 นิ้วและขอบขวา 1 นิ้ว พิมพ์เลขหน้ากำกับทุกแผ่น จำเนื้อหาไม่เกิน 10 หน้า (ไม่นับเอกสารอ้างอิง)
  2. พิมพ์ชื่อผู้เขียน คุณวุฒิตำแหน่ง และสถานที่ทำงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้เฉพาะแผ่น ปกเท่านั้น ไม่ต้องพิมพ์ไว้ในเนื้อหา ทั้งนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการทบทวนบทความโดยไม่ทราบผู้เขียน (Blindly review) ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลาง ของหน้าแรกด้วยอักษรขนาด 18
  3. บทความวิชาการให้เขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก่อนนำเสนอเนื้อหาของ บทความ และมีการกำหนดคำสำคัญ ไม่เกิน 5คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การเรียงหัวข้อของเนื้อเรื่องให้พิจารณา ตามความเหมาะสม
  4. การเขียนงานการวิจัยควรมีลำดับเรื่อง ดังนี้ บทคัดย่อภาษาไทย - บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 250 คำ) - ความสำคัญของปัญหา - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - วิธีดำเนินการวิจัยอธิบายถึงกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง และ การวิเคราะห์ข้อมูล - ผลการวิจัยโดยสรุป - การอภิปรายผลพร้อมข้อเสนอแนะ - กิตติกรรมประกาศ - เอกสารอ้างอิง

5.การใช้ภาษาใช้ภาษาไทยโดยยึดหลักของราชบัณฑิตสถาน หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษใน ข้อความ ภาษาไทย ยกเว้นกรณีจำเป็นและไม่ใช้คำย่อ นอกจากเป็นคำที่ยอมรับกันโดยทั่วไป การแปลศัพท์อังกฤษ เป็นไทย หรือการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้ยึดหลักของราชบัณฑิตสถาน การใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ในเนื้อ เรื่องภาษาไทย ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ รูปแบบการเขียนบทความในผลงานวิจัยลงวารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม

1.ชื่อเรื่อง (Title) ไทยและอังกฤษ พร้อม ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (Author) ไทยและอังกฤษ 3. บทคัดย่อ Abstract (ไทย-อังกฤษ) แยกตามหัวข้อโดยสังเขป บทคัดย่อภาษาไทยหรือ อังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ ดังนี้

วัตถุประสงค์ : ………………………...........................................................................................................

รูปแบบและวิธีวิจัย : ……………………………...........................................................................................

ผลการศึกษา : …………………………........................................................................................................

 สรุปผล : ...............................................................................................................................................

คำสำคัญ (Keywords) : ………………………………...................................................................................

 บทนำ (Introduction) ....................................................................................................................................

 ความเป็นมาหรือปัญหา .................................................................................................................................
วัตถุประสงค์ : …(เพิ่มรายละเอียดจากบทคัดย่อ) ……………………...................................................................

รูปแบบและวิธีวิจัย : ……(เนื้อหาเพิ่มเติมรายละเอียดขึ้นจากจากบทคัดย่อ) ผลการศึกษา : ……(เพิ่มรายละเอียดจากบทคัดย่อ เช่นแสดงตารางหรือสรุปผลฯ)

อภิปรายผล : ....(เพิ่มรายละเอียดจากบทคัดย่อ หรืออาจเพิ่มข้อเสนอแนะ) ………………………………..............

เอกสารอ้างอิง (References or Literature cited) เขียนในรูปแบบ Vancuver) คือเรียงลำดับตามเนื้อหา โดยใส่หมายเลขกำกับเป็นตัวยกในเนื้อหา หมายเหตุ : เนื้อรวมแล้วไม่เกิน 10-12 หน้ากระดาษ การเขียนเอกสารอ้างอิง โดยใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ โดยใช้หลักการดังนี้ 1)การอ้างอิงในส่วนเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นตัวเนื้อหาเอง,ตาราง,และรูปภาพต่างๆให้ใส่ตัวเลขอาระบิค เป็นตัวยกในวงเล็บ () หรือ[] ท้ายข้อความที่อ้างอิงและให้ตัวเลขอยู่ในระดับบรรทัดเดียวกับเนื้อหาโดยเรียง ลำดับก่อนหลังตามการอ้าง 2) ไม่ควรใช้บทคัดย่อ (abstracts) เป็นเอกสารอ้างอิง 3) หลีกเลี่ยงการอ้างอิงเอกสารติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (personal communication) เว้นแต่ว่า เป็นข้อมูลที่สำคัญที่หาไม่ได้จากสิ่งตีพิมพ์สาธารณะต่างๆ ซึ่งกรณีนี้ควรอ้างอิงชื่อบุคคล และวันที่ที่ติดต่อ สื่อสารภายในวงเล็บด้วย บทความในวารสาร (Journal Article)

1.1) ผู้แต่งเป็นบุคคล รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อของวารสาร. ปีพิมพ์; เล่มที่(ฉบับที่):เลขหน้า แต่งเป็นบุคคล

1.2) ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน

1.3) ผู้แต่งมีทั้งเป็นบุคคล และเป็นหน่วยงาน

1.4) กรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้เขียนเริ่มต้นด้วยชื่อเรื่อง

1.5) วารสารเล่มเสริม (volume with supplement) สังเกตได้จากเลขหน้าจะมีตัวอักษร S อยู่ด้วย

1.6) วารสารที่มีฉบับเสริม (issue with supplement)

1.7) วารสารเล่มที่มีตอนย่อย (volume with part)

1.8) วารสารฉบับที่มีตอนย่อย (issue with part)

1.9) วารสารที่มีเฉพาะฉบับที่ ไม่มีเล่มที่ (issue with no volume)

 

  1. หนังสือ : การอ้างอิงหนังสือทั้งเล่ม Format : Author. Title of Book. Edition of Book. Place of Publication: Publisher Name; Year of Publication. รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. ชื่อเมืองที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.

2.1) หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบุคคล

2.2) หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบรรณาธิการ (editor) หรือผู้รวบรวม (compiler)

2.3) หนังสือที่ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน

2.4) หนังสือที่มีผู้เขียนเฉพาะบท และมีบรรณาธิการของหนังสือ (chapter in a book) รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบท. ใน: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบท.

2.5) วิทยานิพนธ์(Thesis/Dissertation) รูปแบบ : ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง [ประเภทหรือระดับปริญญา]. เมืองที่พิมพ์: ชื่อมหาวิทยาลัย; ปีพิมพ์.

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.