ปริมาณโอโซนและไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สัมพันธ์กับการจราจรรอบบึงสีฐานในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ ผลภิญโญ
  • พรพรรณ สกุลคู "คณะสาธารณสุขศาสตร์" มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

          โอโซนเป็นสารมลพิษอากาศทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในบรรยากาศ VOCs จัดเป็นสารพิษที่ทำให้เกิดอากาศพิษ (Toxic Air) ซึ่งโอโซนผลกระทบต่อร่างกายคือ กระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ NO2 มีฤทธิ์กัดกร่อน ก่อให้เกิดฝนกรด หากสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจจะเกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด การศึกษานี้เป็นการเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive cross sectional study) เพื่อศึกษาปริมาณสารมลพิษอากาศในพื้นที่บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือความเข้มข้นของ Ozone และ NO2 ในบรรยากาศ และความสัมพันธ์กับการจราจร วิธีการศึกษาคือนับจำนวนรถที่ผ่านเข้าออก (คัน) บริเวณรอบบึงสีฐานหาความสัมพันธ์ปริมาณการจราจรในแต่ละช่วง กับปริมาณ Ozone และ NO2 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 7 วัน โดยแต่ละวันแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 3 ชั่วโมง คือ 06.00 – 09.00 น. 09.00 – 12.00 น. 12.00 – 15.00 น. และ 15.00 – 18.00 น. ใช้สมการถดถอยเชิงเส้นด้วยโปรแกรม STATA เวอร์ชั่น 15 พบว่าโอโซนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณจราจรรอบบึงสีฐานในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ในทางกลับกันโอโซนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับไนโตรเจนไดออกไซด์ และพบว่าสมการเชิงเส้นนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ 81.29 % (R2 = 0.8129)

References

กรมควบคุมมลพิษ, (2563). คุณภาพอากาศในขอนแก่น. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564, https://www.iqair.com/th/thailanก/khonkaen?fbclid=IwAR3nGYnvaeOIEQIdMKG0uJ6D4GcZ4rLsL4IcDQUYfNM-KQMN7_ynRte6OGk.

นเรศ เชื้อสุวรรณ. (ม.ป.ป.). อันตรายของมลพิษจากไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล. กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม กองฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาสาสตร์บริการ

สมเกียรติ พันธ์ศิริ และ กิดาการ สายธนู. (2556). การทำนายค่าปริมาณความเข้มข้นสูงสุดรายวันของก๊าซ โอโซนที่ระดับพื้นผิวโลกด้วยตัวแบบการถดถอยส่วนประกอบหลัก. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 18(1),144-152

สิริวรรณ เอี่ยมสะอาด, สาวิตรี การีเวทย์ และพจนีย์ ขุมมงคล. (2548). อิทธิพลของอุณหภูมิและความชื้น สัมพัทธ์ของสภาพอากาศที่มีต่อความเข้มข้นของสารประกอบฟอร์มัลดีไฮด์และอะซีตัลดีไฮด์ในเขตชุมชน เมือง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ( ปี 2549 )

อัญชลี พงศ์เกษตร, ชมพูนุช สุภาพวานิช และจามรี สอนบุตร, (2563). ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2563) : กรกฎาคม-ธันวาคม 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30