ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน

คำสำคัญ:

โปรแกรม, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษาขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 380 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติ ความรู้โรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ ระยะเวลาป่วยด้วยโรคเบาหวาน และการรับรู้ประโยชน์การปฏิบัติการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ร้อยละ 30.6 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วยการศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยโปรแกรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมให้ความรู้โรคเบาหวาน และนำเสนอตัวแบบที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 2) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดและการควบคุมระดับน้ำตาล 3) กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 4) กิจกรรมการกระตุ้นเตือน การชักจูงด้วยคำพูดและให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม โดยทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

References

1.United Nations,( 2015). World population ageing2015. Available at. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf /ageing/WPA2015_Report. pdf., accessed April 12, 2017
2. World Health Organization. (2008). Age-friendly PHC centres toolkit. Switzerland: Geneva.
3. กรมสุขภาพจิต. (2563 : online). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476
4. World Health Organization. (2006). Integrating poverty and gender into health programmes: A sourcebook for health professionals: module on ageing. N.P.: Regional Office for the Western Pacific.
5. สมจิตต์ ศิริวนารังสรรค์และเสน่ห์ แสงเงิน. (2560) ผลของโปรแกรมลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 26 (6) : 1052-1060
6. สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560 : online). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน2562 จาก : http://www.ddc.moph.go.th/login/filedata/ncd171160.
7.ภานุชนาท สายบัว. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
8. เสน่ห์ แสงเงิน. (2562). พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตก จังหวัดตาก. ตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมระดับชาติ. เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๓ “ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายการวิจัย และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาประเทศไทย ๔.๐ ให้ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 885-892 (proceeding).
9. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562 : online). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก : http://thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
10. Kerlinger, F.N. and E.J. Pedhazur. Multiple Regression in Behavioral Research. Holt,
Rinehart and Winston, New York, 1973.
11. Bloom BS. (1971). Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
12. Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Prentice Hall, Englewood cliffs,
New Jersey.
13. นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ; 5(1): 496-506
14. Elifson, K. (1990). Fundamental of social statistics International edition. Singapore:
Mc Graw-Hill.
15.สุภัทรา แพเสือ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเขตเมือง กรุงเทพ ฯ. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
16. รื่นจิต เพชรชิต. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ; 2(2): 15-28.
17. ชัญญาภัค คงทน. (2560). ปัจจัยเพื่อทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 25(2): 24-35.
18. ศิริชัย เหมะ. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว . วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31