รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปัญญา พละศักดิ์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, เขตเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษ  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ   3) เพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค แรงสนับสนุนทางสังคม ความตั้งใจ วัฒนธรรมกลุ่มและการรับรู้ความสามารถของตน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนเขตเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 368 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 พฤษภาคม 2564 วิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple linear regression ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล ระยะเวลาดำเนินการจำนวน 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนองค์กร หน่วยงาน ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งสิ้น 55 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับโปรแกรมการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ คือ ความตั้งใจต่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ การรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันและควบคุมโรค โดยทั้ง 2 ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 61.50 (R2= 0.615, SEest=1.952, F = 29.553, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมือง จังหวัดศรีสะเกษ คือ SCKL2I3S-SISAKET model ประกอบด้วย 1) Structure & Policy: มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2) Coordination and Networking: การประสานงานและสร้างภาคีเครือข่าย 3) Knowledge–based: การสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  แก่ประชาชน 4) Legal measure: มาตรการการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัด 5) Integrated advocacy: การให้การสนับสนุนแบบบูรณาการของทุกหน่วยงาน 6) Information system: ระบบการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง 7) Social Awareness: สร้างความตระหนักและความรับผิดชอบร่วม 8) Service system: ปรับระบบบริการเพื่อรองรับสถานการณ์ และ 9) Self-care: การเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองให้ประชาชน และหลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประชาชนเขตเมืองศรีสะเกษมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค แรงสนับสนุนทางสังคม ความตั้งใจ วัฒนธรรมกลุ่ม การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการวิจัยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพในการจัดการภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

นันทิตา กุณราชา, สุภาพร ตรงสกุล, วรรณรัตน์ ลาวัง, พิษณุรักษ์ กันทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก ในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร : CHIANGRAI MEDICAL JOURNAL ปีที่ 9 ฉบับที่ 2‚ 2560.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2756/1/61260304.pdf, 2562.

เสาวณี จันทะพงษ์ และคณะ.วิกฤตโควิด 19 กับมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพ [Internet].

วิจัยและสัมมนาธนาคารแห่งประเทศไทย2563. Available

from: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_07Jul2020.aspx.

บวรศม ลีระพันธ์และคณะ, Leerapan B, สุพรรณไชยมาตย์ ร, Suphanchaimat R, ฑีฆทรัพย์ พ, Teekasap P, et al. การพัฒนาแบบจำลองบูรณา การระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย [Internet]. สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข; 2020 May [cited 2020 Oct 7]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5236.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31