ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลกับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยด้วยเบาหวานในกองทุนดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC)จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์
  • ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรกร วิชัยโย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วุฒิพงษ์ ฆารวิพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • สุภัทรา สามัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน, ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลกรายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 415 ล้านคน ในทุกๆ 6 วินาที จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน ในปี 2556 ประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตด้วยเบาหวานเฉลี่ยวันละ 27 คน และประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในปี 2583 คาดการณ์ว่าจะมีจะมีผู้สูงอายุ 20.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3.06 ล้านคน (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2561) ผู้ป่วยสูงอายุเหล่านี้ต้องมีลูกหลานเป็นผู้ดูแลร่วมกับกองทุนดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC) ในการดำเนินชีวิต และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (caregiver, CG) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุกับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยเบาหวานในกองทุนดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC) จังหวัดกาฬสินธุ์  จากกลุ่มตัวอย่าง 692 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานโดยสถิติ Chi – Square test, OR และค่าความเชื่อมั่นที่ 95% CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

     ปัจจัยที่ที่มีผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำาตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกองทุนการดูแลระยะยาวสําหรับผู้สูงอายุที่มีการพึ่งพา (LTC) ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ระดับความสําคัญทางสถิติที่ 0.05, คือการได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยแหล่งความรู้จากโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้สูงอายุ 5.53 เท่า แหล่งความรู้จากโซเซียลมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้สูงอายุ 0.18 เท่า( x2 =7.89, OR=5.53,p-value=0.005 และx2 =7.89,OR=0.18,p-value=0.005 )

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แก่ผู้ป่วย และผู้ดูแล ด้วยสื่อที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

 

References

ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. (2555). ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน. เชียงใหม่ : คณะแพทย์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพร มีสุขและอาภิสรา วงศ์สละ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, ปีที่27 (ฉบับที่1)

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสาร

วิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่12 (ฉบับที่3). วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จากfile:///C:/Users/Win10x64_Bit/Downloads/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาส์น.

ภาวนา กีรติยุตวงค์. (2544). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: พีเพรส.

วัฒนา สว่างศรี และ ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานรายใหม่

ในชุมชนบ้านเขวาใหญ่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลทหารบก จังหวัดมหาสารคาม.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2558). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18 (3), หน้า 8-11

รติภาคย์ ตามรภาค. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง และประสบการณ์การดูแลตนเองในการ

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุชาวไทยภูเขา จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). ความรู้เรื่องโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วันที่ค้นข้อมูล 16 สิงหาคม 2561.http://iregist.igenco.co.th/web/dmthai_old/news_and_knowledge/list/150.

สาวิตรี นามพะธาย. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน

เลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมไม่ได้. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6) มหาสารคาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2553.

สุวัฒนา ค่านคร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของกลุ่ม

เสี่ยงบ้านหนองแวงยาวเหนือ ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนามน. (2558). สถิติจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศ

ไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31