ความสัมพันธ์ของความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร กับการปฏิบัติตนตามข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ประกอบการอาหารในตลาดโต้รุ่ง ในพื้นที่ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 12 ของไทย

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ประกอบการอาหาร

บทคัดย่อ

บทนำ : อาหารในตลาดโต้รุ่งมีแนวโน้มที่จะไม่ถูกหลักสุขาภิบาลทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคที่นำโดยน้ำและอาหาร โดย พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) จำนวนทั้งสิ้น 11,282 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,137 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2559  และ 1,060.58 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2561 เป็นผลโดยตรงจาก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสุขาภิบาลอาหาร  ของผู้ประกอบการ  

วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytic Study) กลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวนจากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 268  ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติ Chi – Square test, OR และค่าความเชื่อมั่นที่ 95% CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ประกอบการอาหารในตลาดโต้รุ่งในพื้นที่ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 12 ของไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทัศนคติด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติที่ดีมีแนวโน้มมีการปฏิบัติตนตามข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคลมากกว่ากลุ่มที่มีทัศนคติที่ไม่ดี ถึง12.33 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.022 (95%CI = 0.86-176.95,OR = 12.33)  

 ข้อเสนอแนะ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจจัดกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการอาหารในตลาดโต้รุ่ง เพื่อให้ผู้เขาปฏิบัติตนตามข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ประกอบอาหาร ที่ถูกต้องและยั่งยืน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก(สำหรับครูและผู้ดูแลเด็ก). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ; 2554

กองสุขาภิบาลอาหาร. คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กองสุขศึกษา. สรุปสถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ (การบริโภคอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุขอนามัยส่วนบุคคล และอุบัติเหตุ) ของเด็กวัยเรียน พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://164.115.22.119/index.php?goto=news&action=SHOW&news_id=16

จิราภรณ์ หลาบคา, อมาวสี พิทักษ์ และฤทธิไกร แสนยายนต์. (2561). การสุขาภิบาลสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ ในพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ปีที่ 20 (ฉบับที่ 3),

ชนัดดา ตั้งวงศ์จุลเนียม. สรุปผลการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ปี พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2560.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร.อุบลราชธานี:สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี;2543

นฤมล วีระพันธ์, ปราณี ทองคำ. ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะการสุขาภิบาลอาหารตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานของร้านอาหารในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2550;13:187-200.

พลาวัตร พุทธรักษ์, นัยนา ใช้เทียมวงศ์, และสมชาย สุวะไกร. (2558). การเฝ้าระวังสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ประจำปี 2558.

พรชัย พุทธรักษา. (2561). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3, 30.

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข. ผลสำเร็จการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2546-2548; นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6) มหาสารคาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2553.

สุวรรณ แช่มชูกลิ่น และคณะ. (2556). สถานการณ์การจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่มในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, 4

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำ ปี พ.ศ. 2553 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 4 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_Abstract/2559/งานวิจัย_พฤติกรรมการบริโภคอาหาร.pdf

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. รายงานผลการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อสำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename=food_index18#h7

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. ระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้ : http://www.boe.moph.go.th

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำ ปี พ.ศ. 2553 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้: http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_Abstract/2559/งานวิจัย_พฤติกรรมการบริโภคอาหาร.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ18 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้: https://www.m-society.go.th/article_attach/22149/21514.pdf

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. รายงานผลการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อสำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้: http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename=food_index18#h7

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. การประเมินสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้: http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_Abstract/2559/งานวิจัย_ประเมินสถานการณ์สุขาภิบาลอาหารฯ.pdf

ยีมิน, แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์. (2561). การสุขาภิบาลสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ ในพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. ปีที่ 20 ฉบับที่ 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31