ผลของการบริโภคพุดดิ้งเสริมงาดำต่อความเครียดของผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
ความเครียด, ผู้สูงอายุ, งาดำ, , ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจบทคัดย่อ
ความเครียดในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องให้ความตระหนัก การลดความเครียดด้วยอาหารฟังก์ชั่นเป็นหนึ่งในวิธีการลดความเครียด เมล็ดงาดำมีสารลิกแนนที่สามารถลดฮอร์โมนความเครียดได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพุดดิ้งงาดำต่อความเครียดในผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัวและมีดัชนีความเครียด (stress index) ในระดับปฐมภูมิ (³ 35 คะแนน) จำนวน 45 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 24 ราย บริโภคพุดดิ้งปกติ และ กลุ่มทดลอง 21 ราย บริโภคพุดดิ้งเสริมงาดำ 15 กรัม โดยก่อนและหลังการทดลอง 24 ชั่วโมง มีการวัดดัชนีความเครียดและค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate variability, HRV) ได้แก่ กลุ่มค่าที่บ่งบอกถึงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก (low frequency (LF) และ low frequency/high frequency ratio (LF/HF ratio) และกลุ่มค่าที่บ่งบอกถึงการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (high frequency (HF), standard deviation of the normal-to-normal intervals (SDNN) และ square root of the mean squared differences of successive normal R-R intervals (RMSSD) ด้วยเครื่องบันทึกชีพจร ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลอง 24 ชั่วโมง ค่าดัชนีความเครียดในกลุ่มบริโภคพุดดิ้งเสริมงาดำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่มควบคุมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนกลุ่มค่าที่บ่งบอกถึงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกไม่เปลี่ยนแปลงในทั้งสองกลุ่ม นอกจากนั้นยังพบว่าหลังการทดลอง 24 ชั่วโมง ค่า HF ในกลุ่มบริโภคพุดดิ้งเสริมงาดำยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสรุป การบริโภคงาดำสามารถลดความเครียดในผู้สูงอายุได้ โดยสารลิกแนนในงาดำ เช่น เซซามิน เซซามอล และเซซาโมลินอาจจะลดฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้ค่าดัชนีความเครียดลดลง กลไกที่แน่ชัดยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป
References
อังควรา วงษาสันต์ และ นพรัตน์บุญเพียรผล.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดของผู้สูงอายุในเขตบางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร. ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 1088-1089.
สุดสบาย จุลกทัพพะ. (2554). ความเครียด. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สืบค้นจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=50
Anghelescu, I. G., Edwards, D., Seifritz, E., & Kasper, S. (2018). Stress management and the role of Rhodiola rosea: a review. Int J Psychiatry Clin Pract, 22(4), 242-252. https://doi.org/10.1080/13651501.2017.1417442
Cohen, S., Janicki-Deverts, D., & Miller, G. E. (2007). Psychological stress and disease. JAMA, 298(14), 1685-1687. https://doi.org/10.1001/jama.298.14.1685
Lavretsky, H., & Newhouse, P. A. (2012). Stress, inflammation, and aging. Am J Geriatr Psychiatry, 20(9), 729-733. https://doi.org/10.1097/JGP.0b013e31826573cf
Lupien, S., Lecours, A. R., Lussier, I., Schwartz, G., Nair, N. P., & Meaney, M. J. (1994). Basal cortisol levels and cognitive deficits in human aging. J Neurosci, 14(5 Pt 1), 2893-2903. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8182446
Michels, N., Sioen, I., Clays, E., De Buyzere, M., Ahrens, W., Huybrechts, I., Vanaelst, B., & De Henauw, S. (2013). Children's heart rate variability as stress indicator: Association with reported stress and cortisol. Biological psychology, 94(2), 433-440.
Prasad, N., Sanjay, K., Prasad, D. S., Vijay, N., & Kothari, R. (2012). Nutrition & Food. J Nutr, 2(2), 1000127.
Quevedo, D., Lourenço, M., Bolaños, C., Takahira, R., Oba, E., Alfonso, A., & Chiacchio, S. (2019). Association between heart rate, heart rate variability, cortisol, glucose and electrolytes in healthy newborn calves. Arquivo Brasileiro de Medicina Veterinária e Zootecnia, 71(6), 1922-1928.
Rodriguez-Garcia, C., Sanchez-Quesada, C., Toledo, E., Delgado-Rodriguez, M., & Gaforio, J. J. (2019). Naturally Lignan-Rich Foods: A Dietary Tool for Health Promotion? Molecules, 24(5). https://doi.org/10.3390/molecules24050917
Salve, J., Pate, S., Debnath, K., & Langade, D. (2019). Adaptogenic and Anxiolytic Effects of Ashwagandha Root Extract in Healthy Adults: A Double-blind, Randomized, Placebo-controlled Clinical Study. Cureus, 11(12), e6466. https://doi.org/10.7759/cureus.6466
Shi, L. K., Liu, R. J., Jin, Q. Z., & Wang, X. G. (2017). The contents of lignans in sesame seeds and commercial sesame oils of China. Journal of the American Oil Chemists' Society, 94(8), 1035-1044.
Smyth, J., Ockenfels, M. C., Porter, L., Kirschbaum, C., Hellhammer, D. H., & Stone, A. A. (1998). Stressors and mood measured on a momentary basis are associated with salivary cortisol secretion. Psychoneuroendocrinology, 23(4), 353-370. https://doi.org/10.1016/s0306-4530(98)00008-0
Spence, J. D., Thornton, T., Muir, A. D., & Westcott, N. D. (2003). The effect of flax seed cultivars with differing content of alpha-linolenic acid and lignans on responses to mental stress. J Am Coll Nutr, 22(6), 494-501. https://doi.org/10.1080/07315724.2003.10719327
Tudpor, K., Sripongngam, T., Kanpittaya, J., & Takong, W. (2019). Active Ankle Movements Improve Renal Blood Flow in Community-Dwelling Elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 102(8), 51.
Wang, Q., Jia, M., Zhao, Y., Hui, Y., Pan, J., Yu, H., Yan, S., Dai, X., Liu, X., & Liu, Z. (2019). Supplementation of Sesamin Alleviates Stress-Induced Behavioral and Psychological Disorders via Reshaping the Gut Microbiota Structure. J Agric Food Chem, 67(45), 12441-12451. https://doi.org/10.1021/acs.jafc.9b03652
Wongsala, M., Anbacken, E. M., & Rosendahl, S. (2021). Active ageing - perspectives on health, participation, and security among older adults in northeastern Thailand - a qualitative study. BMC Geriatr, 21(1), 41. https://doi.org/10.1186/s12877-020-01981-2
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น