การพัฒนาแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงและแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด หลังคลอดระยะแรกโดยการจัดการความรู้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • วันรัฐ พจนา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
  • เกศกัญญา ไชยวงศา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
  • ภัทรา สมโชค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การตกเลือดหลังคลอด, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงและแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โดยการจัดการความรู้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) สตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง 2) ทีมงานสหวิชาชีพได้แก่ สูติ-นรีแพทย์ พยาบาลแผนกฝากครรภ์ พยาบาลห้องคลอด พยาบาลแผนกหลังคลอด ทีมงานห้องผ่าตัด ทีมงานห้องปฏิบัติการ เพื่อร่วมกันหาสาเหตุของการตกเลือดหลังคลอด ทบทวนแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติโดยใช้แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงเป็นเกณฑ์ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ – เดือน 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในห้องคลอด แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด แนวปฏิบัติการพยาบาลในแผนกสูติกรรมหลังคลอด ประเมินผลการศึกษาโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคูณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ

ผลวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ดีเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกได้แก่ มีเกณฑ์ประเมินปัจจัยเสี่ยงในระยะแรกรับที่ห้องคลอด การใช้ถุงตวงเลือดหลังรกคลอดเพื่อประเมินการสูญเสียเลือดที่ตรงกับความเป็นจริง มีการใช้โมเดลมดลูก (uterus model) สอน สาธิต อธิบายและให้มารดาหลังคลอดคลึงมดลูกด้วยตนเองได้ถูกต้อง ใช้ชุดอุปกรณ์และยาป้องกันตกเลือดหลังคลอด (PPH set box) ใช้หลักปฏิบัติด้วยการจัดการในระยะที่ 3 ของการคลอดโดยเร็ว (Active Management of the Third Stage of Labor: AMTSL) ใช้หลักการดูแลภาวะตกเลือดด้วยกระบวนการ TIME ในกรณีเสียเลือดมากกว่า 300 ซีซี. ขึ้นไป และนำหลัก SBAR มาใช้เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการจัดการความรู้ครบกระบวนการ 7 ขั้นตอน ผลลัพธ์การพัฒนาพบมารดาหลังผ่าตัดคลอด ตกเลือดหลังคลอด 1 ราย ไม่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหรือตัดมดลูก การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือที่ทำให้พยาบาล ทีมสหวิชาชีพ มีศักยภาพในการจัดการการตกเลือดหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

พิกุล บัณฑิตพานิชชาและคณะ. “การพัฒนาระบบการพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด”. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 32(2) : หน้า 131-144, 2560.

สุฑารัตน์ ชูรส. “การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด: บทบาทของพยาบาล”. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 33(1) : หน้า 181-192, 2562.

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวชและคณะ. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 1(1) : หน้า 39-47, 2561.

สุทธิวรรณ ทองยศและคณะ. “การพัฒนาแนวทางป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด ที่มีสาเหตุจากการหดรัดตัวไม่ดี ในมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด”. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28 (ฉบับพิเศษ) : หน้า 176-183, 2562.

Evensen, A., Anderson, J. M., & Fontaine, P. Postpartum hemorrhage: prevention and treatment. American family physician, 95(7) : 442-449, 2017.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. “การป้องกันการตกเลือดใน2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด:บทบาทผดุงครรภ์ First Two Hours Postpartum Hemorrhage Prevention: Midwives’ Role”. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 37(2) : หน้า 155-162, 2557.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน,และกนกพร แจ่มสมบูรณ์ การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโรคหัวใจโดยการ จัดการความรู้. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 24(1) : หน้า 84-95, 2556.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. การจัดการความรู้. วารสารรัชต์ภาคย์. 11(23): 79-86, 2560.

นววรรณ มณีจันทร์และอุบล แจ่มนาม. “ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือด หลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี”. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 31(1) : หน้า 143-155, 2560.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์และคณะ. “การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3 (3) : หน้า 127-141, 2559.

พิมลพันธ์ เจริญศรีและคณะ. “การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด หลังคลอดระยะแรก ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์”. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35(3) : หน้า 48-57, 2560.

นฏกร อิตุพรและคณะ. “ปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดทางช่องคลอด: การทบทวนวรรณกรรม และวิเคราะห์อภิมาน”. เชียงรายเวชสาร. 10(1) : หน้า 149-160, 2561.

วิทยา ถิฐาพันธ์และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (บรรณาธิการ). ตำราประกอบภาพ:ภาวะวิกฤติทางสูติกรรม (Obstetric Crisis). พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลกรุงเทพฯ. 2561.

Rath, W. H. “Postpartum hemorrhage–update on problems of definitions and diagnosis”. Acta obstetricia et gynecologica Scandinavica. 90(5) : 421-428, 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30