การจัดการสิ่งปฏิกูลและความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ เทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ในอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ดีมาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฤทธิรงค์ จังโกฏิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สิ่งปฏิกูล, การจัดการสิ่งปฏิกูล, การบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ศึกษาการจัดการสิ่งปฏิกูลและความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำกากสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ ในพื้นที่เทศบาลตำบลชัยวารี อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในประชากรที่ศึกษาการจัดการสิ่งปฏิกูลระดับครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 276 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการศึกษาการจัดการสิ่งปฏิกูลระดับชุมชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบธุรกิจสูบสิ่งปฏิกูลในพื้นที่

จากการศึกษาพบว่า การจัดการสิ่งปฏิกูลระดับชุมชน เทศบาลมีรถสูบสิ่งปฏิกูล 1 คัน ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลเทศบาลดำเนินการเอง โดยให้ผู้ประกอบการสูบสิ่งปฏิกูลของเอกชนบำบัดร่วมด้วย 1 ราย และการจัดการสิ่งปฏิกูลในระดับครัวเรือน พบกลุ่มตัวอย่างใช้ส้วมแบบบ่อเกรอะโดยตรง ส่วนใหญ่สูบสิ่งปฏิกูล 1-5 ครั้งต่อปี และยังคิดว่าส้วมที่ใช้ไม่เต็มเร็ว สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างยังขาดความรู้เรื่องการสร้างส้วมที่ถูกสุขาภิบาล อีกทั้งประชาชนยังไม่ยอมรับต่อการใช้วัสดุปรับปรุงดินจากสิ่งปฏิกูล เนื่องจากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก ซึ่งประชาชนกังวลเรื่องของไข่พยาธิที่ปนอยู่ในวัสดุปรับปรุงดิน หากเทศบาลมีการส่งเสริมด้านความรู้ให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และยอมรับต่อการนำสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้แทนปุ๋ยเคมี เนื่องจากประชาชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยมากกว่า 4,000 บาท/ปี ร้อยละ 43.12 จะช่วยลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย ลดการใช้สารเคมีกับพืช และการตกค้างของสารเคมีในดิน  

 

References

กรมอนามัย. (2551). อนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานสำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข 2535. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กรมอนามัย. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การางเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชัยศรี สุขสาโรจน์. (2545). รายงานการวิจัยการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือนโดยถังหมักไร้อากาศและลานตากตะกอน. สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วีระศักดิ์ สืบเสาะ และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2551). การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจฉราพร โนนแสง. (2560). การจัดการสิ่งปฏิกูลและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-02