การจัดการมูลฝอยในบริบทการขาดแคลนพื้นที่กำจัด เทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิญาดา เจริญเชื้อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอย, พื้นที่ที่เหมาะสมในการฝังกลบมูลฝอย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการจัดการมูลฝอยของเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์               เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลการจัดการมูลฝอยของเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงการกำจัดและเพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมในการกำจัดมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการในพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 9 ปัจจัย ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ประปาชุมชน แหล่งน้ำผิวดิน เขตชุมชน ศักยภาพการให้น้ำบาดาลการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อดิน พื้นที่น้ำท่วมซ้ำ และความลาดชัน และแสดงเป็นแผนที่ความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ฝังกลบมูลฝอย

ผลการวิจัยพบว่า มูลฝอยที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 4.21 ตันต่อวัน อัตราการเกิดมูลฝอยเท่ากับ 1.02 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน การศึกษาแหล่งกำเนิด 5 แหล่ง คือ ชุมชน (ที่พักอาศัย) ชุมชน (ย่านการค้าพาณิชย์) ตลาดสด โรงเรียน และโรงพยาบาล โดยวิเคราะห์องค์ประกอบของมูลฝอยทางกายภาพ 14 องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบมูลฝอยเฉลี่ยของเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ คือ เศษอาหาร (ร้อยละ 37.30) ถุงพลาสติก (ร้อยละ 29) และ กระดาษ (ร้อยละ11.08) ปัญหาด้านการเก็บขนและกำจัด คือ สถานที่กำจัดมูลฝอยอยู่ห่างจากเขตเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการมูลฝอยจำนวนมาก เมื่อศึกษาวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมในการกำจัดมูลฝอยเบื้องต้น พบว่ามีพื้นที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 16.75 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 83.25 ของพื้นที่ทั้งหมด        โดยพบว่าพื้นที่ตำบลโคกสูง บ้านดง และศรีสุขสำราญ มีพื้นที่เหมาะสม 6.80, 2.88 และ 2.82 ของพื้นที่ศึกษา ตามลำดับ

 

References

1.กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จากhttp://www.pcd.go.th/public/Publications/print_waste.cfm?task=WasteMasterPlan.
2. กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.pcd.go.th/publication/3811.
3.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก http://waste.dla.go.th/.
4.ธเรศ ศรีสถิตย์ (2557). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์ สุชาติ นวกวงษ์ สยาม อรุณศรีมรกต และไกรชาติ ตันตระการอาภา. (2553). ศักยภาพในการลดปริมาณขยะชุมชน จากโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล.วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(2), 54-66.
6. ภักดี สิทธิฤทธิ์กวิน, ศิริพงษ์ ตรีรัตน์, ไพทูรย์ ยศกาศ, และสมชาย แสงนวล. (2562). การศึกษาการจัดการขยะด้วยวิธีกำจัดขยะที่ต้นทางแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านป่าก๊อ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 20(2), 1-13.
7.ภัทรกมล พลหล้า และ ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการค้าในการจัดการขยะของตลาดนัด อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(3), 92-103.
8.สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). หลักเกณฑ์การจัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563, จาก https://www.uthailocal.go.th/dnm_file/govdoc_stj/95020012_center.pdf.
9.สุภาวดี น้อยน้ำใส และปิยะดา วชิระวงศกร. (2560). ประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. Naresuan University Journal: Science and Technology 2017, 25 (3), 77-88.
10.สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 67-81.
11.อณุพล หมื่นยงค์, จรัณธร บุญญานุภาพ, และ ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ (2559). การคัดเลือกสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน. บทความฉบับเต็ม (Proceeding) แบบโปสเตอร์กลุ่มวิทยาศาสตร์/เกษตรศาสตร์/สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 41 และนานาชาติ ครั้งที่ 5. (หน้า 230-245). ปทุมธานี:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
12.อิสรภาพ มาเรือน. (2558). กระบวนการสร้างความร่วมมือทางสังคมระหว่างชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าเมียน เผ่าลัวะ เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตําบลป่ากลาง อําเภอปัว จังหวัดน่าน.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(1), 34-40.
13.Bilgehan, N., Tayfun, C., Fatih, I., & Ali, B. (2010). Selection of MSW landfill site for Konya, Turkey using GIS and multi-criteria evaluation. Environ Monit Assess (2010), 160, 491–500.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26