การศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว และสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปัญญดา แก้วรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กล้าเผชิญ โชคบำรุง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติตัว, สมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว และ สมรรถภาพปอด ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 193 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม 2564 ถึงเดือน เมษายน 2564 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าต่ำสุด สูงสุด ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และระดับสมรรถภาพปอด ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.1, 94.8 และ 68.4 ตามลำดับ) ส่วนระดับการปฏิบัติตัว ส่วนมากอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 72.0) การปฏิบัติตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถภาพปอดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอ ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยต้องสร้างเสริมความรู้และทัศนคติของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับดี เพื่อการปฏิบัติตัวให้คงอยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน

References

สุนันท์ ทองพรหม. ปัจจัยทำนายอาการกำเริบบ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

กระทรวงสาธารณสุข. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD). [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. สถิติผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.mnrh.go.th/th/info.php?act=mnrh&id=17

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. (2017). Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2017/02/wms-GOLD-2017-FINAL.pdf [accessed 2020 10 Nov]

Choppin BH, Postlethwaite TN. Bloom’s Taxonomy. In: Evaluation in Education, Volume 1. (pp. 100-111). [n.p.]: Pergamon Press; 1976.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. (2021). Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2020/11/GOLD-2021-KEY-CHANGES-SUMMARY-v1.0.pdf [accessed 2020 10 Nov]

ภาวดี วิมลพันธุ์, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 23(3): 98-109.

พรทิพย์ ศรีโสภา, เสาวนีย์ เหลืองอร่าม. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านร่วมกับการกดรัดทรวงอกด้วยแผ่นยางยืดในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกายภาพบำบัด 2562; 41(3): 138-47.

กาญจนา ใจเย็น. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมุสลิม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

อังคณา บุญลพ. การศึกษาผลลัพธ์การจัดการรายกรณีต่อความรู้ในการดูแลตนเองและระยะวันนอนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 26(2): 68-80.

สุมาลี ฝ่าซ่าย. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2553.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์, สุดฤทัย รัตนโอภาส. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนกฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 3(2): 29-41.

อุษา เอี่ยมละออ และคณะ. ศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 12(2): 240-252.

อรุณวรรณ วงษ์เดิม, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติกิจกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9(3): 120-128.

วิภาณี คงทน และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: การศึกษาไปข้างหน้า. วารสารสภาการพยาบาล 2562; 34(3): 76-90.

ชณิตา สุริอาจ. การรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพของผู้ต้องขังที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20(3): 372-387.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-16