ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพ, สิ่งคุกคามสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 424 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square Test)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหม ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 53.82 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,563.92 บาท ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 76.9 ระยะเวลาในการทำงานทอผ้ามากกว่า 10 ปี ร้อยละ 76.9 เวลาการทำงานทอผ้า 4-6ชั่วโมง/วัน ร้อยละ 54.6 มีการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.5 มีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 63.0 และมีคุณภาพชีวิต ระดับดี ร้อยละ 50.5 การศึกษาความสัมพันธ์พบว่า การสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ และภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2549). ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dip.go.th/th. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563.
เกศินี บัวดิศ. (2560). ผ้าทอพื้นเมืองของชาวอีสาน. วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://mcmac.udru.ac.th/mcmac_files/vol3_1_3.pdf. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562
ณัฐพงษ์ ฤทธิ์น้ำคำ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2550). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานและการดูแล
สุขภาพจากกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/gskku/article/view/23963. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562
แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ. (2559). โครงการสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิงทอผ้าในชุมชน ในพื้นที่ 2 ตำบล คือตำบลจารพัต และตำบลนารุ่ง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/41593. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562
พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. (2562). คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 2-3.
เพชรรัตน์ แก้วดวงดี และคณะ. (2553). ความชุกและความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดขอนแก่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://he01.tci-thaijo.org/ index.php/ams/article/download/66194/54144. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2547). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนิสา ชายเกลี้ยง และคณะ. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/88982. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น. (2562). ผ้าไทยมรดกโลกที่ควรจดจำ :“การทอผ้าแบบพื้นบ้านพื้นเมืองในภูมิภาคต่างๆ” . วันที่ 19 เม.ย. 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=74962. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562
สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์. (2558). ผ้าไหมสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://surin.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=511:mindmap--otop-&catid=114&Itemid=557. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563.
สงวน ธานี และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของสตรีทอผ้าในจังหวัด
อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 36 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม – ธันวาคม [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/165245. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย). การตรวจวัดทางสุขศาสตร์
อุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=461:-m-m-s&catid=47:-m---m-s&Itemid=201. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563
อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2552). การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2561). สภาพแวดล้อมในการทำงานและความเสี่ยงทางสุขภาพ: หลักการและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลอาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น